วันพุธ, มีนาคม 23, 2559

"พังค่าฟ้าแดง" หาใช่ "พังงาฟ้าแดง" ไม่

"พังงาฟ้าแดง" 
จากช่วงหนึ่งของวรรณกรรมที่ว่า
"ชายใดจากหญิงภรรยาไปเมืองจีน ไปชวา ไปพังงาฟ้าแดงเกิน 3 ปี อนุญาติให้หญิงนั้นมีชู้ได้" สะท้อนให้เห็นถึงความห่างไกลและทุรกันดารของถิ่นพังงาในสมัยนั้น 



แต่...ในที่นี้ขอกล่าวถึง บทความที่ใกล้เคียงกับบทความข้างต้นที่ว่า..

"...แม้นว่าชายไปเมืองจีนไปชะแลไปเชียงใหม่ไปพังค่าไปชะวาผาแดงดั่งนั้นไซ้ ท่านให้หญิงอยู่ถ้าสามปี ถ้าได้ข่าวว่าสลัดจับชายผัวไปได้ แลสำเภาสัดไปตกข้าศึก ให้หญิงอยู่ถ้าเจ็ดปี
ถ้าพ้นสาม/เจ็ดปีแล้วหญิงมีชู้ผัว มิให้มีโทษแก่หญิงชายนั้นเลย ถ้าชายผัวเก่ามาทำร้ายแก่เฃาทังสองไซ้ ท่านให้ไหมดุจเดียวแล..."


[พระไอยการลักษณผัวเมีย หมวด ๗ มาตรา ๖๒ วรรค ๒] กฎหมายตราสามดวง ฉบับพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และการเมือง แก้ไขปรับปรุงใหม่ เล่ม ๒ พ.ศ. ๒๕๔๘ สถาบันปรีดี พนมยงค์



"ไปเมืองจีน ไปชะแล ไปเชียงใหม่ ไปพังค่า ไปชะวา ผาแดง"

ซึ่งทั้งหมดคือชื่อบ้านนามเมือง ในที่นี้ขอกล่าวถึง
"พังค่า"

พังค่าในที่นี้หาใช่พังงาในปัจจุบันไม่!!

"พังค่า" หรือ เมืองพังคาน่าจะอยู่ทางเหนือ เชื่อว่าปัจจุบันคือ "เมืองนครสวรรค์" นั่นเอง

อ้างอิงจาก ประชุมพงศาวดาร ภาคที่ ๖๔ พงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม) และ เว็บของทางเทศบาลนครสวรรค์ โดยคุณเพ็ญชมพู
http://www.reurnthai.com/index.php?topic=5496.0

(กฎหมายตราสามดวง คือ ประมวลกฎหมายในรัชกาลที่ 1 ปฐมกษัตริย์แห่งบรมราชจักรีวงศ์ ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ชำระกฎหมายเก่า ที่มีมาแต่ครั้งโบราณ แล้วรวบรวมเป็นประมวลกฎหมายขึ้นเมื่อ พ.ศ.2347)

วันอังคาร, มีนาคม 22, 2559

"คายเจียงเซ่งอ๋อง" ศูนย์รวมจิตใจของตระกูลแซ่ตั๋นในตะกั่วป่า (ตอนที่2)

"ถึงแม้ผู้รวบรวมบทความนี้จะเป็นลูกหลานจีนที่ใช้แซ่หลิม แต่ส่วนหนึ่งทางฝ่ายมารดาเป็นคนแซ่ตั๋น มีบรรพชนเป็นชาวเมืองเจียงจิว มณฑลฮกเกี้ยน จึงร่วมสำนึกในคุณงามความดีของท่านตั๋นเส่งอ๋อง การรวบรวมบทความนี้จึงบันทึกไว้เพื่อเป็นการเผยแพร่คุณงามความดีของท่านสืบไป " 
#บรรพชนสร้างสรรค์ ลูกหลานสืบสาน



ในส่วนนี้เป็นประวัติของท่านตั๋นเส่งอ๋อง ที่ได้รวบรวมจาก http://www.pattaniamulet.com/ ซึ่งได้ปิดตัวลงไปแล้ว จึงขอนำเสนออีกครั้งเพื่อเป็นการระลึกถึงคุณงามความดีของท่านสืบไป



คายจางเซิ่งหวัง หรืออาจเรียกท่านว่า เซิ่งหวังกง () หรือ เฉินเซิ่งหวัง () ซึ่งท่านก็คือ เฉินเอวี๋ยนกวาง (chén yuán guāng)นั่นเอง

เฉินเอวี๋ยนกวาง (ค.ศ. ๖๕๗ เดือน ๒ ค.ศ. ๗๑๑) มีชื่อรองว่า ถิงจวี้
廷炬(tíng jù ) สมญานามว่า หลงหู 龍湖(lóng hú) ดั้งเดิมท่านเป็นคนเมือง เหอตง 河東郡 (hé dōng jùn)ต่อมาท่านได้ย้ายเข้าไปเป็นประชาชนของเมืองจางโจ ว 漳州市(zhāng zhōu shì) ในมณฑลฝูเจี้ยน 福建(fú jiàn)

เมื่อท่านอายุเพียง ๑๓ ปี ท่านอยู่ในมณฑลฝูเจี้ยนได้เข้าร่วมกับบิดาชื่อ เฉินเจิ้ง
陳政 (chén zhèng) ร่วมออกรบด้วยกัน ซึ่งเป็นคำสั่งของผู้บังคับบัญชาของด่านกองทัพตอนใต้ ของประเทศจีน ซึ่งบิดาของท่านประจำการอยู่ที่ด่านนี้ ในสมัยจักรพรรดิถังเกาจง (唐高宗) ศักราชอี๋เฟิ่ง (儀鳳) ปีที่ ๒ (ค.ศ. ๖๗๗) เดือน ๔ ท่านเฉินเจิ้งได้ตายในระหว่างในการทำหน้าที่ช่วงที่อ อกรบ ต่อมาทำให้ท่านเฉินเอวี๋ยนกวาง ต้องมารับหน้าที่แทนบิดาของตนเอง โดยมีตำแหน่งเป็นทหารองครักษ์ฝ่ายซ้ายของตำหนักจักรพ รรดิ 玉鈴衛翊府左郎將(yù líng wèi yì fǔ zuǒ láng jiàng)ครั้นที่ท่านอยู่ในตำแหน่ง ท่านมีบทบาทมาก โดยได้ปราบพวกกบฏ และ อันธพาลทั้งหลายที่ก่อความไม่สงบในท้องถิ่นที่ท่านดู แลอยู่ อย่างเช่น ท่านได้ปราบพวกของเฉินเชียน 陳謙(chén qiān)ซึ่งอยู่ในมณฑล กว่างตง (廣東) โดยมีผู้นำ ๒ คนที่ชื่อ เหมียวจื้อเฉิง 苗自成 (miáo zì chéng)และ เหลยว่านซิง 雷萬興(léi wàn xīng) ก่อความไม่สงบสุข แต่ท่านก็ได้ปราบจนทำให้เกิดความสงบสุขเป็นที่เรียบร ้อยได้ เป็นผลให้ เวลาต่อมาทางตอนใต้ของมณฑลฝูเจี้ยนเกิดสันติสุขกันทั่วหน้า ท่านเฉินเอวี๋ยนกวางจึงได้ถูกยกย่องให้เป็น เจิ้งอี้ต้ายฟู 正議大夫 (zhèng yì dài fu)และจักรพรรดิทรงมีคำสั่งแต่งตั้งให้ท่านเป็น ผู้บังคับบัญชารักษาด่านหลิ่งหนานสิงจวิน (嶺南行軍總管) ตั้งแต่บัดนั้น

ครั้นที่ท่านเฉินเอวี๋ยนกวางได้อาศัยอยู่ที่เมืองจางโจว ท่านมีบทบาทในการรวมชนเผ่าต่างๆที่อาศัยอยู่ในเมือง ที่มีขนบธรรมเนียม วัฒนธรรม ประเพณี ที่หลากหลายแตกต่างกัน นำมารวมเป็นหนึ่งเดียวกันทั้งหมด เพื่อให้เกิดความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ท่านมีความเชื่อว่า การที่กองทัพทางทหารมีความเอื้อเฟื้อ ช่วยเหลือ กันอย่างเต็มที่ และมีการพัฒนากองทัพให้เข้มแข็งดียิ่งๆขึ้นไป จะมีส่วนช่วยให้ประชาชนมีความเป็นอยู่อย่างสงบสุข และยังเป็นผลให้ ผู้ปกครองและประชาชนในเมืองเฉวียนโจว
泉州市(quán zhōu shì) ในมณฑลฝูเจี้ยน และ เมืองเฉาโจว 潮州 (cháo zhōu shì) ในมณฑลกวางตง ได้ร่วมกันแลกเปลี่ยน สนับสนุน เสริมกำลังทางทหาร เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ในการรักษาความสงบสุขทั้งสองเมือง

ในสมัยจักรพรรดิถังฉุยก่ง
唐垂拱 (táng chuí gǒng) ปีที่ ๒ (ค.ศ. ๖๘๖) พระนางอู่เจ๋อเทียน (บูเช็กเทียน) 武則天 (wǔ zé tiān) ได้ประกาศ ให้เมืองจางโจวได้ปกครองตนเอง และมีอำนาจเต็มทั้งหมดในการตัดสินใจด้วย รวมไปถึง หมู่บ้านจางผ่อ 漳浦(zhāng pǔ)ก็ได้ยกฐานะขึ้นให้เป็นเมืองเทียบเท่ากับเมืองจาง โจว และยังประกาศให้ท่านเฉินเอวี๋ยนกวางได้เป็นผู้ปกครอง เมืองจางโจว โดยมีตำแหน่งเป็นจางโจวชื่อสื่อ 漳州刺史(zhāng zhōu cì shǐ) หรือเรียกว่า โจวฉาง 州長(zhōu cháng) และยังให้ท่านมีอำนาจในการปกครองเมืองจางผ่อ ควบคู่กันไปทั้งสองเมือง

หลังจากที่ท่านเฉินเอวี๋ยนกวางทำบ้านเมืองให้สงบเรียบร้อยแล้ว ท่านยังสร้างป้อมปราการป้องกันศัตรูอีก ๓๖ ป้อม ทั่วทั้งในมณฑลฝูเจี้ยนและมณฑลกวางตง มีการพัฒนากองทัพ สร้างทางรถไฟเพิ่มหลายสาย รวมถึงการขยายอาณาเขตให้กว้างออกไปโดย ทิศเหนือ จด เมืองเฉวียนโจว
泉州市(quán zhōu shì) ทิศใต้ จด เมืองเฉาโจว 潮州 (cháo zhōu shì) ทิศตะวันตก จด เมืองก้านโจว 贛州市(gàn zhōu shì) ทิศตะวันออก จด ช่องแคบในประเทศไต้หวั่น 臺灣海峽(tái wān hǎi xiá) และท่านยังได้มีการส่งเสริมให้มีการทำนา เพาะปลูก รวมไปถึงพัฒนาเทคนิคต่างๆในการผลิตผลผลิต และพัฒนาทางด้านเทคโนโลยีการผลิตพืชผลต่างๆ เช่น ข้าว, ปอ, อ้อย, กล้วย, ลิ้นจี่, ลำไย, และดอกไม้ต่างๆ

จากคุณงามความดีที่ท่านเฉินเอวี๋ยนกวางที่ได้พัฒนาเมืองจางโจว และบริเวณใกล้เคียงให้เกิดความเจริญยิ่งๆขึ้นไป จึงได้รับการยกย่อง สรรเสริญ จากประชาชนโดยทั่วๆไป เมื่อถึงรัชสมัยจักรพรรดิถังเสวียนจง (
唐玄宗) ได้ยกย่องสรรเสริญให้ท่านเฉินเอวี๋ยนกวางเป็น เป้าเทาเว่ยต้าเจี้ยงจวิน 豹韜衛大將軍(bào tāo wèi dà jiàng jūn)และ หลินจางโหว 臨漳侯 (lín zhāng hóu)และ มี่จงอี้เหวินฮุ่ย 謐忠毅文惠 (mì zhōng yì wén huì)หลังจากนี้ท่านยังได้รับการยกย่องให้เป็น อิ่งชวนโหว 潁川侯 (yǐng chuān hóu)

ในสมัยจักรพรรดิซ่งฮุยจง
宋徽宗(sòng huī zōng)ได้ยกย่องสรรเสริญท่านเฉินเอวี๋ยนกวาง โดยสลักจารึกคุณงามความดีของท่านบนแผ่นป้าย ซึ่งตั้งอยู่ที่วัดเวยฮุ่ย 威惠廟(wēi huì miào)และในสมัยจักรพรรดิซ่งเซี่ยวจง 宋孝宗(sòng xiào zōng)ได้ยกย่องให้ท่านเป็น ลิ่งจู้ซุ่นอิ้งเจาเลี่ยกว่างจี้หวัง 靈著順應昭烈廣濟王(lìng zhù shùn yìng zhāo liè guǎng jì wáng)

ในสมัยราชวงศ์หมิง ท่านเฉินเอวี๋ยนกวางได้รับการสรรเสริญยกย่องให้เป็น เจาเลี่ยโหว
昭烈侯(zhāo liè hóu )โดยเฉพาะชนชาวจีนในเมืองจางโจวได้ขนานนามยกย่องให้ท ่านคือ คายจางเซิ่งหวัง (開漳聖王)
ความมีชื่อเสียง และ ได้สร้างคุณาประการต่างๆ รวมถึงคุณงามความดีของท่าน ทำให้ชนชาวจีนมีความนับถือ และ เลื่อมใสท่านเป็นจำนวนมากยิ่งๆขึ้นไป โดยมีการก่อสร้างอารามเพื่อการกราบไหว้บูชาท่าน โดยทั้งมณฑลฝูเจี้ยน รวมถึงประเทศไต้หวัน มีอารามของท่านมากกว่า ๑๐๐ แห่ง โดยใช้ชื่อว่า เซิ่งหวังเมี่ยว 聖王廟(shèng wáng miào) เมื่อเวลาผ่านไป ผู้ปกครองในเมืองจางโจว ได้มีการตั้งชื่อถนนสายหลักในย่านตัวเมืองชื่อว่า เอวี๋ยนกวางเป่ยลู่ 元光北路(yuán guāng běi lù) และ เอวี๋ยนกวางหนานลู่ 元光南路(yuán guāng nán lù) เพื่อให้รำลึกถึงคุณงามความดีครั้นที่ท่านเฉินเอวี๋ยนกวางยังมีชีวิตอยู่ในอดีต (บทความโดยคุณไท้เฉวียน ๒๓ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๑ )



"คายเจียงเซ่งอ๋อง" ศูนย์รวมจิตใจของตระกูลแซ่ตั๋นในตะกั่วป่า (ตอนที่1)

ในยุคทองของเมืองตะกั่วป่า มีชาวจีนอพยพเข้ามาทำมาหากินลงหลักปักฐานเป็นจำนวนมาก มีหลากหลายกลุ่ม หลากหลายแซ่ ทั้งชาวจีนฮกเกี้ยน ชาวจีนไหหลำ ชาวจีนกวางตุ้งฯ โดยมีชาวจีนฮกเกี้ยนเป็นส่วนใหญ่ 

ทั้งนี้การเดินทางจากแผ่นดินแม่ในสมัยนั้น ต้องผจญกับความยากลำบาก มีเพียงแรงใจและแรงกายที่มุ่งมั่นหมายที่จะฝ่าฟันอุปสรรคนานานับประการเพื่อสร้างเนื้อสร้างตัวให้มีความมั่นคงและมั่งคั่งกว่าเดิมการพลัดถิ่นเข้ามาอยู่ในดินแดนใหม่จึงจำต้องมีการรวมตัวกันเป็นกลุ่ม เพื่อจะได้ให้ความช่วยเหลือพวกพ้องเดียวกัน จึงได้มีการจัดตั้งสมาคม(โฮ้ยก้วน)ขึ้นมาในตะกั่วป่า นอกจากเพื่อช่วยเหลือพวกพ้องแล้วยังเป็นศูนย์รวมจิตใจของเหล่าสมาชิกในสมาคมนั้นๆด้วย โฮ้ยก้วนต่างๆจึงที่ประดิษฐานองค์เทพเจ้าที่ตนนับถือด้วย อาทิ กึงตั้งโหยก้วน ของชาวกวางตุ้ง ประดิษฐานองค์ท่ามกุงหย่า หรือเค่งจิ้วฮ่วยก๊วน ของชาวไหหลำ ประดิษฐานองค์ตุ้ยบ้วยเต๋งเหนี่ยว เป็นต้น 



นอกจากการรวมตัวกันในรูปแบบสมาคมหรือโฮ้ยก้วนแล้ว ยังมีการรวมกลุ่มกันเฉพาะแซ่อีกด้วย ในที่นี้จะกล่าวถึง "เอ่งฉ้วนต๋อง" ของคนแซ่ตั๋น ซึ่งมีจำนวนมากในตะกั่วป่ารวมทั้งพื้นที่ใกล้เคียง จากคำบอกเล่าของผู้เฒ่าผู้แก่ได้กรุณาเล่าไว้ว่า ในสมัยที่ยังไม่มีการตัดถนนเส้นถนนกลั่นแก้วลงมาบรรจบกับถนนศรีตะกั่วป่า กงสีของคนแซ่ตั๋นจะตั้งอยู่ที่บริเวณนั้น ซึ่งหมายถึงบริเวณที่เรียกว่า "ปากกรอก(ปากตรอก)" ในปัจจุบันนั่นเอง และเมื่อมีการตัดถนนได้ย้ายมาอยู่ที่ถนนศรีตะกั่วป่าบริเวณใกล้ๆกับร้านรวมสินในปัจจุบัน ก่อนที่จะได้ปิดตัวลงไป
ท่านตั๋นเซ่งอ๋อง หรือตั๋นหงวนก๊อง เป็นศูนย์รวมจิตใจของคนในตระกูลแซ่ จึงมีการจัดงานพบปะสังสรรค์กันโดยถือเอาวันรำลึกถึงองค์ท่านเป็นมงคลวาระ(15ค่ำ เดือน2 ของจีน)ในการพบปะกัน

ท่านตั๋นเซ่งอ๋อง หรือตั๋นหงวนก๊อง ในอดีตท่านได้สร้างคุณงามความดีไว้มากมาย อนุชนครรุ่นหลังล้วนสำนึกถึงความดีของท่าน ดังที่ปรากฎว่ามีการสร้างอนุสาวรีย์ สร้างศาลเจ้าต่างๆ รวมถึงการนำชื่อของท่านมาเป็นชื่อถนน ทั้งในแผ่นดินจีนและไต้หวัน สำหรับลูกหลานจีนโพ้นทะเลล้วนนับถือท่านเป็นเทพเจ้าประจำตระกูลแซ่อีกด้วย 
นอกจากคุณงามความดีที่ได้มีการจดบันทึกไว้ในหน้าประวัติศาสตร์แล้ว เพื่อเป็นการประกาศเกียรติคุณและความสามารถของท่านแล้ว ยังมีการนำเรื่องราวของท่านมาสร้างเป็นละครชุด เรื่อง "根在中原"
ซึ่งคุณMamiya ได้กรุณาบันทึกไว้เป็นเรื่องย่อ สามารถติดตามได้ที่
http://www.bloggang.com/mainblog.php?id=mamiya&month=28-10-2008&group=1&gblog=41
จึงของแสดงความขอบคุณมา ณ ที่นี้


"ถึงแม้ผู้รวบรวมบทความนี้จะเป็นลูกหลานจีนที่ใช้แซ่หลิม แต่ส่วนหนึ่งทางฝ่ายมารดาเป็นคนแซ่ตั๋น มีบรรพชนเป็นชาวเมืองเจียงจิว มณฑลฮกเกี้ยน จึงร่วมสำนึกในคุณงามความดีของท่านตั๋นเส่งอ๋อง การรวบรวมบทความนี้จึงบันทึกไว้เพื่อเป็นการเผยแพร่คุณงามความดีของท่านสืบไป "
#บรรพชนสร้างสรรค์ ลูกหลานสืบสาน


วันศุกร์, มีนาคม 18, 2559

ไซเหอ(西河) เต่งโหของคนแซ่หลิม(林)

แซ่หลิม(林) ใช้ ไซเหอ(西河) เพื่อบ่งบอกถึงที่มาของบรรพชนที่สืบเนื่องกันมากว่าสามพันหกร้อยปี
หลิม(林หมายถึงป่า) 

สำหรับงานชิ้นนี้เป็นภาพอักษรจีนคำว่า 
ไซเหอ(西河) โดยใช้วืธีการตัดฉลุลาย ออกแบบโดยใช้ลวดลายมงคลพฤกษาสามชนิดเป็นองค์ประกอบ คือ松 สน อันเป็นสัญลักษณ์ของความยั่งยืน竹 ไผ่ อันเป็นพญาแห่งมวลพฤกษา บ้างว่าเปรียบเสมือนชายชาตรี梅 ดอกเหมย อันมีความหอมเป็นเลิศ บ้างว่าเปรียบเสมือนอิสตรีพืชพรรณทั้งสามล้วนสามารถเจริญเติบโตและยืนหยัดได้เป็นอย่างดีแม้ในช่วงฤดุหนาว เมื่อนำทั้งสามมาอยู่ในภาพเดียวกัน เรียกว่า "歲寒三友-岁寒三友(สามสหายแห่งฤดูหนาว)" โดยมีนัยยะที่ว่า 
"จิตใจอันเข้มแข็งทะนงและองอาจ กล้าที่จะต่อสู้ฟันฝ่าอุปสรรคโดยไม่ย่อท้อ แม้ในช่วงเวลาอันแปรปรวน"
หรือนัยยะที่ว่า "ความรักความสามัคคีและน้ำมิตรไมตรี มิตรภาพที่ไม่เคยทอดทิ้งกันและกัน" โดยเปรียบเทียบเอกลักษณ์ของไผ่ สน เหมย ที่ยืนหยัดเคียงข้างกันต่อสู้กับลมหนาวจวบจนถึงวันแรกแห่งฤดูใบไม้ผลิ
ประหนึ่งว่า แซ่หลิมที่ยังคงสืบสานกันต่อไป

"นมัสการ "พ่อท่านแหวง" ร่วมแรงสืบสานศาสนา"

"ปฎิวาสกรรม"
"นมัสการ "พ่อท่านแหวง"  ร่วมแรงสืบสานศาสนา"
งานปฏิบัติธรรมอยู่ปริวาสกรรมของพระภิกษุ
11-20 มีนาคม 2559



"บางหมวน" บางที่น้ำไม่ใส

ห่างหายไปนานกับ Blogger
กลับมาพร้อมกับเรื่องชื่อบ้านนามเมือง 
กรณีตัวอย่างจาก.."เหม็ดนางชี" หรือ "เสม็ดนางชี
จะเป็น "เหม็ด(ภาษาถิ่น)" หรือ "เสม็ด(สะเหม็ด)" ก็แล้วแต่วิจารณญาณ 
สำหรับชื่อบ้านนามเมืองนั้น เมื่อถึงยุคหนึ่งสมัยหนึ่งมักมีการเปลี่ยนแปลงเสมอ ด้วยเหตุและผลนานาประการ จึงขอยกตัวอย่างอีกกรณีหนึ่งกับคำว่า

"หมวน" ในภาษาถิ่นใต้ หมายถึงตะกอนของน้ำ น้ำที่ไม่ใสมีตะกอนเรียก "น้ำหมวน" 





เมื่อเป็นชื่อบ้านนามสถานที่ จึงใช้ว่า "บางหมวน"

"บางหมวน"สถานที่นี้มีการทำเหมืองแร่เยอะ น้ำในบริเวณนั้นจึงเป็นตะกอนนำ้ไม่ใส จึงเรียก "บางหมวน" ถัดไปเป็นพื้นที่ป่ามีความอุดมสมบรูณ์ ห้วยหนองคลองบึงมีน้ำใส จึงเรียกว่า "ห้วยแก้ว"

ต่อมา "บางหมวน" ได้ "ม" ขึ้นมา กลายเป็น "บางมรวน(บาง-มะ -รวน)"
แต่ "บางหมวน" ก็ยังเป็นคำที่คนท้องถิ่นเรียกขานอยู่


ทั้งหมดเป็นคำบอกเล่าจากคนรุ่นก่อน ที่นำมาเล่าขานตำนานบ้านเมืองกัน เพื่อให้รู้จักและรักษาภาษาถิ่นอันเป็นอัตลักษณ์และเอกลักษณ์ของตนเอง



ภาพถ่ายบริเวณหน้าวัด,โรงเรียนบางมรวน เมื่อปี พ.ศ.2506

ปล.ภาพถ่ายบริเวณหน้าวัด,โรงเรียนบางมรวน เมื่อปี พ.ศ.2559