วันอังคาร, เมษายน 05, 2559

รากเหง้าบนป้ายหิน

ถึงกาลเวลาจะลบเลือน แต่ยังเตือนให้รู้ถึงที่มาอักษรจีนที่สลักอยู่บนแผ่นป้ายหินหน้าหลุมฝังศพ หรือที่เรียกว่า "บ่องป๋าย" หรือ "เจี่ยะปี” เมื่อกาลเวลาล่วงเลยมักสึกกร่อนไป แต่สิ่งหนึ่งที่ยังหลงเหลือไว้คือเรื่องราวของบรรพชนที่สืบสายกันมาจากรุ่นสู่รุ่นถึงปัจจุบัน

แผ่นป้ายนี้ สลักอะไร???
แผ่นป้ายนี้ สาระสำคัญจะอยู่ที่การระบุชื่อแซ่ของเจ้าของร่างอันไร้วิญญาณที่อยู่ในสุสานหรือบ่อง() โดยในแต่ละป้ายจะแบ่งออกเป็นสามแถว เรียงกันอยู่

1-แถวซ้าย  เป็นการระบุถึงวันเดือนปีที่สร้างสุสานนี้ ตลอดจนระบุถึงภูมิลำเนาเดิมในแผ่นดินจีน

2-แถวกลาง เป็นการระบุถึงชื่อแซ่ของผู้วายชนม์

3-แถวขวา เป็นการระบุถึงชื่อของผู้สร้างสุสานนี้ ซึ่งมักเป็นชื่อของบุตรหลานของผู้วายชนม์


สำหรับส่วนบนสุดของแผ่นป้ายจะสลักคำว่า “” ในที่นี้จะหมายถึงบรรพชน (อีกความหมายหนึ่งจะหมายถึง ทวด)

หรือจะสลักคำว่า “” เป็นคำยกย่องเทิดทูนผู้วายชนม์

ในกรณีที่วายชนม์เป็นชายหรือเป็นบิดาจะสลักคำว่า “顯考” ตามด้วยชื่อของผู้วายชนม์และนามสกุลหรือแซ่

และในกรณีที่วายชนม์เป็นหญิงหรือเป็นมารดาจะสลักคำว่า “顯妣 ตามด้วยชื่อของผู้วายชนม์และนามสกุลหรือแซ่เดิมก่อนการสมรส

และมีการสลักถึงภูมิลำเนาเดิมที่เมืองจีนไว้ในส่วนบนของแผ่นป้าย (ตามภาพประกอบ 平和 คือชื่อเมืองในมณฑลฮกเกีี้ยน) 
ทั้งนี้ รูปแบบในการสลักอักษรลงบนแผ่นป้ายหน้าสุสานยังมีหลากหลายแตกต่างกันไป ตามธรรมเนียมปฏิบัติของกลุ่มคนนั้นๆ ในที่นี้จะกล่าวถึงรูปแบบที่มีมากในท้องที่อำเภอตะกั่วป่า จังหวัดพังงา ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นกลุ่มลูกหลานชาวจีนฮกเกี้ยน(福建)พอสังเขปเท่านั้น 

อนึ่งผู้เขียนบันทึกนี้เป็นเพียงผู้สนใจใฝ่รู้ บันทึกขึ้นมาเพื่อเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาเรื่องราวของคนในท้องถิ่น จึงใคร่เชิญชวนให้ผู้สนใจร่วมศึกษากันต่อไปในภายภาคหน้าเพื่อประโยชน์ของสาธารณะชนรุ่นต่อๆไป 
LimFuGui 05/04/2016