วันอาทิตย์, พฤษภาคม 01, 2559

เต่เหลี่ยว ‪#‎茶料

เต่เหลี่ยว ‪#‎茶料‬ 

เป็นขนมนานาชนิดที่กินกับน้ำชา และมักทำมาจากธัญพืช เป็นขนมที่มีนัยยะที่แสดงถึงการต้อนรับนั่นเอง และความอุดมสมบูรณ์ 
เต่เหลี่ยว สำหรับใช้ในการไหว้ถี่ก๊อง จะจัดเพิ่มขึ้นมารวมทั้งหมดเป็นสิบสองชนิด ถือเป็นอามิสบูชาที่นำถวายต่อถี่ก๊อง ซึ่งจะเรียกว่า "จับหยี่อั๊ว" ได้อีกด้วย

[หลักฉ่าย六菜] เครื่องบวงสรวงเจ ตามธรรมเนียมนิยมของคนฮกเกี้ยน

[หลักฉ่าย六菜] หรือ [หลักเจ六齋]

麵線 หมี่สั่ว
吃麵線,闔家添歲壽
香菇 เฮียงก้อ (เห็ดหอม)
食香菇,頭胎生查埔
ตังหู้น (วุ้นเส้น)
กิมเจี้ยม (ดอกไม้จีน)
บกหนี (เห็ดหูหนู)
เตกกากี่ (ฟองเต้าหู้)

ไซเหอ(西河) ยี่ห้อของคนแซ่ หลิม (林)


แซ่หลิม(林) ใช้ ไซเหอ(西河) เพื่อบ่งบอกถึงที่มาของบรรพชนที่สืบเนื่องกันมากว่าสามพันหกร้อยปี 
หลิม(林หมายถึงป่า) จึงใช้ลวดลายมงคลพฤกษาสามชนิดเป็นองค์ประกอบ คือ松 สน อันเป็นสัญลักษณ์ของความยั่งยืน竹 ไผ่ อันเป็นพญาแห่งมวลพฤกษา บ้างว่าเปรียบเสมือนชายชาตรี梅 ดอกเหมย อันมีความหอมเป็นเลิศ บ้างว่าเปรียบเสมือนอิสตรีพืชพรรณทั้งสามล้วนสามารถเจริญเติบโตและยืนหยัดได้เป็นอย่างดีแม้ในช่วงฤดุหนาว เมื่อนำทั้งสามมาอยู่ในภาพเดียวกัน เรียกว่า "歲寒三友-岁寒三友(สามสหายแห่งฤดูหนาว)" โดยมีนัยยะที่ว่า 
"จิตใจอันเข้มแข็งทะนงและองอาจ กล้าที่จะต่อสู้ฟันฝ่าอุปสรรคโดยไม่ย่อท้อ แม้ในช่วงเวลาอันแปรปรวน" 
หรือนัยยะที่ว่า "ความรักความสามัคคีและน้ำมิตรไมตรี มิตรภาพที่ไม่เคยทอดทิ้งกันและกัน" โดยเปรียบเทียบเอกลักษณ์ของไผ่ สน เหมย ที่ยืนหยัดเคียงข้างกันต่อสู้กับลมหนาวจวบจนถึงวันแรกแห่งฤดูใบไม้ผลิ 
ประหนึ่งว่า แซ่หลิมที่ยังคงสืบสานกันต่อไป