วันศุกร์, กันยายน 21, 2555

บาบ๋า "เครื่องถนิมพิมพาภรณ์"



เครื่องประดับ เป็นสิ่งหนึ่งที่บ่งชี้ให้เห็นถึงสภาพความเป็นอยู่ รสนิยมของผู้ที่สวมใส่ และยังสะท้อนให้เห็นถึงสภาพสังคม เศรษฐกิจในยุคนั้นๆอีกด้วย เช่นเดียวกับเครื่องประดับของชาวบาบ๋า ที่มีความงามทั้งแง่ศิลปะ ความประณีตที่ทำให้เห็นถึงฝีมือทางเชิงช่าง อีกทั้งวัสดุที่นำมาใช้ล้วนเป็นทองคำ เงิน นาก มาประดับด้วยอัญมณีมีค่าต่างๆ อันสะท้อนให้เห็นถึงความมั่งคั่งร่ำรวยของคนในยุคนั้น
เครื่องประดับของคนบาบ๋าที่ใช้สวมใส่มีมากมายหลากหลาย ทั้งที่เป็นเครื่องประดับสำหรับใช้ในชีวิตประจำวัน เช่น แหวน ปิ่นปักผม เข็มขัด  เป็นต้น และเครื่องประดับที่ใช้ในวาระโอกาสสำคัญๆต่างๆที่มักมีความวิจิตรตระการตามากยิ่งขึ้นตัวอย่างที่เห็นจากภาพต่อไปนี้ เป็นภาพส่วนหนึ่งของขบวนแห่สินสอดทองหมั้น ที่บาบ๋าปีนังจัดแสดงในงาน 24 th BABA-NYONYA CONVENTION 2011, PENANG(25-27 NOV 2011) เครื่องประดับที่นำมาเป็นสินสอดประกอบด้วย 

๑. “หมั้ยตีน” หรือกำไลข้อเท้า มีลักษณะเป็นวงกลม มีส่วนเว้าระหว่างรอยต่อเพื่อความสะดวกในการสวมใส่ หรือทำเป็นวงกลมที่มีสกรูเพื่อช่วยขยายขอบกำไล บ้างใส่กระพรวนไว้เมื่อเดินจะเกิดเสียงดัง หมั้ยตีนนิยมใส่กับชุดครุยยาวเนื่องในโอกาสพิเศษหรือพิธีการที่สำคัญ

๒.“เข็มเหน็บมวย” หรือปิ่นปักผม สตรีบาบ๋าในอดีตมักไว้ผมยาว จึงนิยมเกล้าผมเป็นมวย มีการเกล้ามวยผมเป็นสองแบบ แบบแรกเป็นการรวบผมตึงเกล้ามวยประมาณท้ายทอยเป็นการเกล้ามวยแบบมวยต่ำ ใช้เข็มเหน็บมวยเพียงอันเดียวหรือสองอัน
แบบต่อมา เป็นการเกล้ามวยสูงหรือที่เรียกว่า “ชักอีโบย” แบบนี้จะใช้เมื่อสวมชุดครุย รอบมวยผมจะตกแต่งด้วยพวงมาลัยดอกไม้ ใช้เข็มเหน็บมวย ๓, ๕ หรือ 7 อัน หรือการเกล้ามวยสูงสำหรับชุดแต่งงานส่วนมวยผมจะประดับด้วยฮั๋วก๋วน ติดดอกไม้ไหว ปักด้วยเข็มเหน็บมวยรอบด้าน  เข็มเหน็บมวยหรือปิ่นปักผมจึงมีความสำคัญยิ่งในการใช้ชีวิตประจำวัน 

๓. “โกรสัง เข็มกลัดติดเสื้อ ด้วยเสื้อของชาวบาบ๋าไม่นิยมติดกระดุมแต่จะใช้เข็มกลัดแทน เข็มกลัดหรือโกรสังเป็นเครื่องประดับสามชิ้น มีตัวใหญ่อยู่ด้านบน นิยมเรียก “ตัวแม่(mother piece, kerongsang ibu)” ด้านล่างเรียกว่า “ตัวลูก(child piece, kerongsang anak)” หรือที่เรียกว่า “a set of mother and child
การออกแบบโกรสังที่ใช้กลัดแทนกระดุม สำหรับชุดเสิ้อครุย มักมีลักษณะคล้ายรูปหัวใจเป็นตัวแม่ ส่วนตัวลูกจะทำเป็นวงกลมมีขนาดย่อมกว่าตัวแม่ มีการตกแต่งเป็นลวดลายต่างๆ 
โกรสังอีกแบบหนึ่งจะเป็นชุดเข็มกลัด ๓ ชิ้นมีโซ่เล็กๆเกี่ยวเนื่องกันเป็นชุดๆ โกรสังส่วนใหญ่มักทำจากทองคำ เงิน นาก ประดับด้วยเพชรซีก หรือเพชรลูก 

๔. “อ่องโบ้ ” ต่างหู (ตุ้มหู)

 ๕.“หลั่นเต่ป๋าย” เป็นสร้อยคอ ที่นิยมทำเป็นแผงรูปวงรี ให้โค้งตามลำคอ นิยมทำด้วยทองคำ ประดับเพชร หรืออัญมณีอื่นๆ

๖.ปิ่นตั้งเป็นจี้สำหรับห้อยคอ หรือใช้กลัดติดเสื้อ มักออกแบบเป็นลายดอกไม้ กลีบหรือเกสรประดับเพชร อีกแบบหนึ่ง ออกแบบรูปทรงเป็นทรงนูนคล้ายหลังเต่าประดับด้วยเพชรหรืออัญมณีอื่นๆ ทำเป็นลายดวงอาทิตย์ ลายดอกไม้ ฯ

๗. “กำไลข้อมือ” นิยมทำจากทอง เงิน หรือนาก ประดับเพชรหรืออัญมณีมีค่าอื่นๆ ออกแบบลวดลายเป็นนก ดอกไม้ หรือลายเครือเถา

กิมตู้น จี้ห้อยคอ มักนำเหรียญทอง (เหรียญที่ชาวอังกฤษนำเข้ามาใช้ในยุคล่าอาณานิคม) ส่วนใหญ่เป็นเหรียญสมัยปลายคริสตวรรษที่๑๘ ถึงต้นคริสตวรรษที่ ๑๙  ที่นิยมนำมาตกแต่งล้อมรอบเหรียญ เป็นลายเครือเถา ลายสัตว์ต่างๆ ส่วนเหรียญที่รุ่นก่อนปลายคริสตวรรณที่ ๑๘ นั้น นิยมเก็บเป็นของสะสมไว้ให้เป็นสมบัติแก่บุตรหลานจะเรียกว่า “เหรียญแหม่มทูนหัว แบบหนึ่ง
อีกแบบมีขนาดเล็กกว่าแบบแรกใช้ทองคำ เงิน หรือนาก มาทำเป็นกระดุม โดยมีห่วงเล็กๆอยู่ด้านหลัง แบบนี้ใช้สำหรับติดเสื้อคอตั้งแขนจีบ การใช้เหรียญทองคำซึ่งในสมัยนั้นนับเป็นของมีค่าที่สามารถใช้แลกเปลี่ยนสินค้าได้มาทำเป็นเครื่องประดับนั้น สะท้อนให้เห็นถึงความมั่งคั่งของผู้ที่สวมใส่ได้เป็นอย่างดี


 "อ่องโบ้" หรือต่างหู (หรือที่ชาวตะกั่วป่าเรียกว่า ตุ้มหู) มีหลากหลายลักษณะ คือ
๑."ตุ้มหูหางหงส์" เป็นตุ้มหูติดแนบกับใบหู ๒."ตุ้มหูดอกพิกุล" เป็นตุุ้มหูแบบติดแนบกับใบหูอีกแบบหนึ่ง ออกแบบเป็นลายดอกพิกุล  ๓."ตุ้งติ้ง"เป็นตุ้มหูที่ห้อยระย้า


“แหวน” "อ่องโบ้" หรือต่างหู (หรือที่ชาวตะกั่วป่าเรียกว่า ตุ้มหู) มีหลากหลายลักษณะ คือ เครื่องประดับที่สวมใส่ติดตัวในชีวิตประจำวัน สำหรับคนบาบ๋านิยมทำแหวนเป็นลายดอกไม้ เรียกว่า “แหวนหัวดอกพิกุล” ใช้เพชรลูกเป็นหัวแหวน รายรอบด้วยเพชรซีก บ้างทำหัวแหวนเป็นรูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูนหรือสี่เหลี่ยมข้าวหลามตัด เรียกว่า “แหวนบาแยะ”
เครื่องประดับของบาบ๋า ยังมีการออกแบบให้สามารถปรับเปลี่ยนขึ้นมาใหม่ได้อีกด้วย เช่น ต่างหูแบบแนบกับใบหู สามารถนำมาต่อได้เป็นต่างหูแบบระย้า หรือจะนำมาทำเป็นหัวแหวนได้อีกด้วย

ทั้งนี้บทความนี้เป็นเพียงการเก็บรวบรวมข้อมูลเบื้องต้น จำต้องขอความคิดเห็นอันเป็นสาระจากท่านทั้งหลาย เพื่อให้มีความสมบูรณ์และสามารถใช้อ้างอิงได้ต่อไปในอนาคต

วันพุธ, กรกฎาคม 11, 2555

ถ่ายภาพลายพระหัตถ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี


ภาพลายพระหัตถ์ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี
 ถ่ายภาพลายพระหัตถ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เมื่อครั้งที่ทรงเสด็จเยือน Graduate University of Chinese Academy of Sciences เมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2548
ลายพระหัตถ์สมเด็จพระเทพฯ ภาษาจีนและภาษาไทย พระราชทานให้ไว้ในวันเปิดพิพิธภัณฑ์โรงงานหลวงที่๑(ฝาง)
 ถ่ายภาพลายพระหัตถ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี แปลว่า "มีความรู้กว้างขวาง"
ถ่ายภาพลายพระหัตถ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี  ที่อยู่ในห้องรับรองของเต้าอวิ้นโหลว

 ถ่ายภาพลายพระหัตถ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี


ถ่ายภาพลายพระหัตถ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี  

วันอาทิตย์, กรกฎาคม 01, 2555

ตะกั่วป่า-ซากเรือโบราณ

เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2550 ชาวบ้านบ้านน้ำเค็มได้งมพบซากเรือและอุปกรณ์ต่างๆขึ้นมาจากทะเล บริเวณแหลมปะการัง ห่างจากชายฝั่งประมาณหนึ่งกิโลเมตร (ต่อมาเขามาเรียกว่า “แหล่งเรือจมบ้านบางสัก” <บางสัก ตำบลบางม่วง กับ แหลมปะการัง ตำบลคึกคัก ครับ??>)

ข้าพเจ้าเห็นเป็นโอกาสดีที่จะสามารถเข้าถึงสิ่ง ต่างๆได้ (ก่อนที่หน่วยงานที่รับผิดชอบจะนำไปศึกษา และจะหายไปจากท้องถิ่น ) จึงได้เก็บภาพมาฝากไว้...

วัตถุที่พบ ประกอบด้วย ปืนโบราณจำนวนทั้งสิ้น 5 กระบอกแต่ละกระบอกมีขนาดความยาว 1.4 เมตร โดย 3 กระบอก ปะการังและหอยชนิดต่างๆเชื่อมให้อยู่ติดกัน ส่วนอีก 2 กระบอก แยกจากกันแต่ก็มีปะการังและหอยจับโดยรอบอย่างแน่นหนา นอกจากนี้ มีชิ้นส่วนของชามโบราณและวัตถุโบราณอีก 2 - 3 ชิ้น

ต่อมาได้มีการศึกษา เพิ่มเติมนำโดยคุณเอิบเปรม วัชรางกูร นักโบราณคดี 8 ว. หัวหน้ากลุ่มโบราณคดีใต้น้ำ เข้าสำรวจแหล่งเรือจมบ้านบางสักได้ให้ข้อมูลว่าเรือตังกล่าวเป็นเรือสำเภา ไม้มีความยาว 13.50 เมตร กว้าง 5 เมตร ซากที่พบเหลือประมาณ 60% ของตัวเรือทั้งหมด จากร่องรอยกราบเรือบ่งชี้ว่าความยาวเต็มลำเรืออาจถึง 20 เมตร ซึ่งตามรูปแบบการต่อแล้ว เรือลำนี้ต่อขึ้นด้วยฝีมือของช่างทางแถบยุโรป บอกได้ว่าเป็นเรือสินค้าของชาวฝรั่ง

การค้นพบครั้งนี้ถือว่าเป็นครั้งแรกของการค้นพบเรือสำเภาโบราณที่มีลักษณะการต่อเรือแบบยุโรป ในฝั่งทะเลอันดามัน...

สำหรับผู้สนใจสามารถหาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
http://www.siamscubadiving.com/board/view.php?tid=2668
http://topicstock.pantip.com/blueplanet/topicstock/2008/01/E6234826/E6234826.html

วันพุธ, เมษายน 25, 2555

“สี่แยกบางม่วง พ.ศ.๒๕๐๖”


สี่แยกบางม่วง  พ.ศ.๒๕๐๖อำเภอตะกั่วป่า จังหวัดพังงา
挽孟, 竹古巴, 攀牙府.【中华民国五十二年】
Tambon Bang Muang, Amphoe Takua Pa, Phang-nga.【1963


ถ่ายเมื่อวันที่ ๑๕ เมษายน พ.ศ.๒๕๐๖ โดยห้องภาพแสงฟ้า ตะกั่วป่า

【暹羅鄭皇達信大帝衣冠墓】

【暹羅鄭皇達信大帝衣冠墓】
"สุสานของ 'แต้อ๊วง' (สมเด็จพระเจ้าตากสินฮ่องทางตอนใต้ในแผ่นดินพระเจ้าเฉียนหลงฮ่องเต้)
ทำการบูรณะซ่อมแซมใหม่ ในปี ค.ศ. ๑๙๘๕ ฤดูใบไม้ผลิ"
 เถ่งไฮ่澄海 เมืองแต้จิ๋ว潮州 มณฑลกวางตุ้ง 廣東】
【http://big5.cri.cn/gate/big5/gb.cri.cn/27824/2010/11/03/5311s3042789.htm】
 ตั๊กสิ้นไต่เต่ เสี่ยมล่อแต่ฮ๋อง สุสานกษัติย์พระมาลาแห่งสยามประเทศ สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช

【中泰人民是兄弟】


【中泰人民是兄弟】
ไทยจีนใช่อื่นไกล พี่น้องกัน

จีนไทยใช่อื่นไกลพี่น้องกัน" หรือ "จงไท่อี้เจียชิน" (中泰一家亲) 

วันอาทิตย์, มีนาคม 04, 2555

"閏月หลุ่นโง้ย" ปีที่มีเดือนซ้ำ

閏 (rùn)อธิกสุรทิน
閏年/闰年(rùn nián)ปีที่มีวันอธิกสุรทินหมายถึงปีอธิกสุรทิน (leap year) เป็นปีที่มีการเพิ่มหนึ่งวัน (หรือหนึ่งเดือนในกรณีของปฏิทินสุริยจันทรคติ) เพื่อให้ปีปฏิทินสอดคล้องกับปีดาราศาสตร์หรือปีฤดูกาล เพราะฤดูกาลและเหตุการณ์ทางดาราศาสตร์มิได้เกิดซ้ำในจำนวนเต็มวัน ปฏิทินซึ่งมีจำนวนวันในแต่ละปีเท่าเดิมจึงต้องเลื่อนให้ตรงกับเหตุการณ์ที่ ปฏิทินควรจะติดตามเมื่อเวลาผ่านไป โดยการแทรกวันหรือเดือนเพิ่มเข้าไปในปีนั้น การเลื่อนจึงสามารถทำให้ถูกต้องได้ ปีที่มิใช่ปีอธิกสุรทิน เรียกว่า ปีปกติสุรทิน (common year)

閏月/闰月(rùn yuè) หมายถึงปีที่มีเดือนอธิกสุรทิน (ปีที่มีเดือนซ้ำกันภายในหนึ่งปี) โดยนับตามปฏิทินเกษตรหรือปฎิทินฤดูกาล(ปฎิทินจันทรคติ) ของจีนเป็นการคำนึงถึงการโคจรรอบโลกของดวงจันทร์หนึ่งรอบใช้เวลาประมาณ 29.5 วัน โดยปกติหนึ่งปีจะมีสิบสองเดือน รวม 354 หรือ 355 วัน ส่วนการโคจรของดวงอาทิตย์ใช้เวลาประมาณ 365.25 วันต่อหนึ่งปี จะมากกว่าปฏิทินเกษตรประมาณ 11 วัน ในกรณีนี้วันต่างๆจะต้องเลื่อนออกไป อาทิ วันตรุษจีนที่เริ่มนับในฤดูใบไม้ผลิ จะเลื่อนออกไปเป็นช่วงฤดูร้อน ดังนั้นนักปราชญ์จีนท่านจึงได้กำหนดให้บางปีให้มีเดือนซ้ำกันสองเดือน ปีที่มีเดือนอธิกสุรทินนั้น ในทุกๆ 19 ปีมี 7 ครั้ง หรือประมาณสองสามปีจะเกิดขึ้นครั้งหนึ่ง เมื่อใช้วิธีนี้ทำให้การนับวันตามสุริยคติและจันทรคติมีจำนวนที่ไม่คลาด เคลื่อนกันมาก ซึ่งได้ใช้กันเรื่อยมากระทั่งปัจจุบัน

农历闰年闰月上下1000年表

1645年 闰五月, 1648年 闰四月, 1651年 闰正月, 1653年 闰六月, 1656年 闰五月
1659年 闰三月, 1661年 闰八月, 1664年 闰六月, 1667年 闰四月, 1670年 闰二月
1672年 闰七月, 1675年 闰五月, 1678年 闰三月, 1680年 闰八月, 1683年 闰六月
1686年 闰四月, 1689年 闰三月, 1691年 闰七月, 1694年 闰五月, 1697年 闰三月
1699年 闰七月, 1702年 闰六月, 1705年 闰四月, 1708年 闰三月, 1710年 闰七月

1713年 闰五月, 1716年 闰三月, 1718年 闰八月, 1721年 闰六月, 1724年 闰四月
1727年 闰二月, 1729年 闰七月, 1732年 闰五月, 1735年 闰四月, 1737年 闰九月
1740年 闰六月, 1743年 闰四月, 1746年 闰三月, 1748年 闰七月, 1751年 闰五月
1754年 闰四月, 1756年 闰九月, 1759年 闰六月, 1762年 闰五月, 1765年 闰二月
1767年 闰七月, 1770年 闰五月, 1773年 闰三月, 1775年 闰十月, 1778年 闰六月

1781年 闰五月, 1784年 闰三月, 1786年 闰七月, 1789年 闰五月, 1792年 闰四月
1795年 闰二月, 1797年 闰六月, 1800年 闰四月, 1803年 闰二月, 1805年 闰七月
1808年 闰五月, 1811年 闰三月, 1814年 闰二月, 1816年 闰六月, 1819年 闰四月
1822年 闰三月, 1824年 闰七月, 1827年 闰五月, 1830年 闰四月, 1832年 闰九月
1835年 闰六月, 1838年 闰四月, 1841年 闰三月, 1843年 闰七月, 1846年 闰五月

1849年 闰四月, 1851年 闰八月, 1854年 闰七月, 1857年 闰五月, 1860年 闰三月
1862年 闰八月, 1865年 闰五月, 1868年 闰四月, 1870年 闰十月, 1873年 闰六月
1876年 闰五月, 1879年 闰三月, 1881年 闰七月, 1884年 闰五月, 1887年 闰四月
1890年 闰二月, 1892年 闰六月, 1895年 闰五月, 1898年 闰三月, 1900年 闰八月
1903年 闰五月, 1906年 闰四月, 1909年 闰二月, 1911年 闰六月, 1914年 闰五月

1917年 闰二月, 1919年 闰七月, 1922年 闰五月, 1925年 闰四月, 1928年 闰二月
1930年 闰六月, 1933年 闰五月, 1936年 闰三月, 1938年 闰七月, 1941年 闰六月
1944年 闰四月, 1947年 闰二月, 1949年 闰七月, 1952年 闰五月, 1955年 闰三月
1957年 闰八月, 1960年 闰六月, 1963年 闰四月, 1966年 闰三月, 1968年 闰七月
1971年 闰五月, 1974年 闰四月, 1976年 闰八月, 1979年 闰六月, 1982年 闰四月

1984年 闰十月, 1987年 闰六月, 1990年 闰五月, 1993年 闰三月, 1995年 闰八月
1998年 闰五月, 2001年 闰四月, 2004年 闰二月, 2006年 闰七月, 2009年 闰五月
2012年 闰四月, 2014年 闰九月, 2017年 闰六月, 2020年 闰四月, 2023年 闰二月
2025年 闰六月, 2028年 闰五月, 2031年 闰三月, 2033年 闰冬月, 2036年 闰六月
2039年 闰五月, 2042年 闰二月, 2044年 闰七月, 2047年 闰五月, 2050年 闰三月

2052年 闰八月, 2055年 闰六月, 2058年 闰四月, 2061年 闰三月, 2063年 闰七月
2066年 闰五月, 2069年 闰四月, 2071年 闰八月, 2074年 闰六月, 2077年 闰四月
2080年 闰三月, 2082年 闰七月, 2085年 闰五月, 2088年 闰四月, 2090年 闰八月
2093年 闰六月, 2096年 闰四月, 2099年 闰二月, 2101年 闰七月, 2104年 闰五月
2107年 闰四月, 2109年 闰九月, 2112年 闰六月, 2115年 闰四月, 2118年 闰三月

2120年 闰七月, 2123年 闰五月, 2126年 闰四月, 2128年 闰冬月, 2131年 闰六月
2134年 闰五月, 2137年 闰二月, 2139年 闰七月, 2142年 闰五月, 2145年 闰四月
2147年 闰冬月, 2150年 闰六月, 2153年 闰五月, 2156年 闰三月, 2158年 闰七月
2161年 闰六月, 2164年 闰四月, 2166年 闰十月, 2169年 闰六月, 2172年 闰五月
2175年 闰三月, 2177年 闰七月, 2180年 闰六月, 2183年 闰四月, 2186年 闰二月

2188年 闰六月, 2191年 闰五月, 2194年 闰三月, 2196年 闰七月, 2199年 闰六月
2202年 闰四月, 2204年 闰九月, 2207年 闰六月, 2210年 闰四月, 2213年 闰三月
2215年 闰七月, 2218年 闰五月, 2221年 闰四月, 2223年 闰九月, 2226年 闰七月
2229年 闰五月, 2232年 闰三月, 2234年 闰八月, 2237年 闰五月, 2240年 闰四月
2242年 闰冬月, 2245年 闰六月, 2248年 闰五月, 2251年 闰三月, 2253年 闰七月

2256年 闰六月, 2259年 闰五月, 2262年 闰正月, 2264年 闰七月, 2267年 闰五月
2270年 闰三月, 2272年 闰八月, 2275年 闰六月, 2278年 闰四月, 2281年 闰二月
2283年 闰六月, 2286年 闰五月, 2289年 闰三月, 2291年 闰七月, 2294年 闰六月
2297年 闰四月, 2300年 闰二月, 2302年 闰六月, 2305年 闰五月, 2308年 闰三月
2310年 闰七月, 2313年 闰六月, 2316年 闰四月, 2318年 闰十月, 2321年 闰七月

2324年 闰五月, 2327年 闰三月, 2329年 闰八月, 2332年 闰六月, 2335年 闰四月
2338年 闰三月, 2340年 闰七月, 2343年 闰五月, 2346年 闰四月, 2348年 闰八月
2351年 闰六月, 2354年 闰五月, 2357年 闰正月, 2359年 闰七月, 2362年 闰五月
2365年 闰四月, 2367年 闰八月, 2370年 闰六月, 2373年 闰五月, 2376年 闰二月
2378年 闰七月, 2381年 闰五月, 2384年 闰四月, 2386年 闰十月, 2389年 闰六月

2392年 闰四月, 2395年 闰二月, 2397年 闰六月, 2400年 闰五月, 2403年 闰三月
2405年 闰八月, 2408年 闰六月, 2411年 闰五月, 2414年 闰二月, 2416年 闰七月
2419年 闰五月, 2422年 闰三月, 2424年 闰八月, 2427年 闰六月, 2430年 闰四月
2433年 闰三月, 2435年 闰七月, 2438年 闰五月, 2441年 闰四月, 2443年 闰八月
2446年 闰七月, 2449年 闰五月, 2452年 闰三月, 2454年 闰八月, 2457年 闰五月

2460年 闰四月, 2462年 闰八月, 2465年 闰六月, 2468年 闰五月, 2471年 闰三月
2473年 闰七月, 2476年 闰五月, 2479年 闰四月, 2481年 闰十月, 2484年 闰六月
2487年 闰五月, 2490年 闰三月, 2492年 闰七月, 2495年 闰五月, 2498年 闰四月
2500年 闰十月, 2503年 闰六月, 2506年 闰五月, 2509年 闰二月, 2511年 闰七月
2514年 闰五月, 2517年 闰四月, 2520年 闰正月, 2522年 闰六月, 2525年 闰五月

2528年 闰三月, 2530年 闰七月, 2533年 闰六月, 2536年 闰四月, 2539年 闰正月
2541年 闰七月, 2544年 闰五月, 2547年 闰三月, 2549年 闰七月, 2552年 闰六月
2555年 闰四月, 2557年 闰八月, 2560年 闰七月, 2563年 闰五月, 2566年 闰四月
2568年 闰七月, 2571年 闰六月, 2574年 闰四月, 2576年 闰九月, 2579年 闰六月
2582年 闰四月, 2585年 闰三月, 2587年 闰七月, 2590年 闰五月, 2593年 闰四月

2595年 闰十月, 2598年 闰七月, 2601年 闰五月, 2604年 闰三月, 2606年 闰八月
2609年 闰六月, 2612年 闰四月, 2614年 闰冬月, 2617年 闰六月, 2620年 闰五月
2623年 闰三月, 2625年 闰八月, 2628年 闰六月, 2631年 闰五月, 2634年 闰正月
2636年 闰七月, 2639年 闰五月, 2642年 闰三月, 2644年 闰八月, 2647年 闰六月
2650年 闰四月, 2653年 闰二月, 2655年 闰七月, 2658年 闰五月, 2661年 闰三月

2663年 闰七月, 2666年 闰六月, 2669年 闰四月, 2672年 闰三月, 2674年 闰七月
2677年 闰五月, 2680年 闰三月, 2682年 闰七月, 2685年 闰六月, 2688年 闰四月
2691年 闰三月, 2693年 闰七月, 2696年 闰五月, 2699年 闰三月, 2701年 闰八月
2704年 闰六月, 2707年 闰四月, 2710年 闰三月, 2712年 闰七月, 2715年 闰五月
2718年 闰四月, 2720年 闰九月, 2723年 闰六月, 2726年 闰五月, 2728年 闰冬月

2731年 闰七月, 2734年 闰五月, 2737年 闰四月, 2739年 闰九月, 2742年 闰六月
2745年 闰五月, 2748年 闰二月, 2750年 闰七月, 2753年 闰六月, 2756年 闰四月
2758年 闰八月, 2761年 闰六月, 2764年 闰五月, 2767年 闰三月, 2769年 闰七月
2772年 闰六月, 2775年 闰三月, 2777年 闰八月, 2780年 闰六月, 2783年 闰五月
2786年 闰三月, 2788年 闰七月, 2791年 闰六月, 2794年 闰三月, 2796年 闰八月

ปีที่มีเดือนซ้ำด้านบนนั้น บอกเป็นปีคริสต์ศตวรรษ ดังนั้นเมื่อต้องการปีที่เป็นพุทธศตวรรษ ให้เอาตัวเลขปีคริสต์ศตวรรษบวกกับ 543 ผลลัพธ์ที่ได้จะเป็นปีพุทธศตวรรษ

ตัวอย่าง

2796年 闰八月 หมายถึง 2796 年(ปี ค.ศ.2796) 闰(อธิกสุรธิน) 八(เดือน 8)月

2796+543 = 3339 หมายถึง ปี พ.ศ.3339

ตัวเลขที่บอกจะเป็นภาษาจีน ดังนี้

一=1 二=2 三=3 四 =4 五=5

六=6 七=7 八=8 九=9 十=10


การอ่านปฎิทินจีนของน่ำเอี๊ยง

"การอ่านปฎิทินจีนของน่ำเอี๊ยง" เป็นบทความที่คุณ Tai Sian Chaow ซึ่งเป็นรุ่นพี่ที่คุ้นเคยกันเป็นอย่างดีได้กรุณาเขียนขึ้นตั้งแต่ Aug 29, '07 และผมเห็นว่าเป็นเรื่องที่น่าสนใจ จึงขออนุญาตินำออกมาเผยแพร่อีกครั้ง โดยรายละเอียดสามารถเข้าไปดูได้ที่ http://chaowtaisian.multiply.com/journal/item/1/1
รูปที่ 1



ตำแหน่งที่ 1 คือปี เดือน ข้างขึ้น ข้างแรม ตามจันทรคติของไทย

ตำแหน่งที่ 2 คือเดือน(
) และวัน() ตามเดือนและวันของสากล ซึ่งเขียนเป็นภาษาจีน ตามรูปที่ 1 อ่านได้ว่า เดือน 2 (กุมภาพันธ์) วันที่ 18 ของสากล

ตำแหน่งที่ 3 คือปี เดือน ตามจันทรคติของจีน แถวบนคือ ปี(
) อ่านจากขวาไปซ้าย ซึ่งจะใช้สัญลักษณ์ของราศีบนกับราศีล่างเป็นหลักในการเขียน เป็นไปตามสมัยโบราณที่นิยมเขียน ซึ่งเขาจะไม่เขียนเป็นตัวเลขกัน ตามรูปที่ 1 อ่านได้ว่า ปีเตงฮ่าย(丁亥年) ปีกุนธาตุไฟ ส่วนแถวล่างคือ เดือน() อ่านจากขวาไปซ้าย ตามรูปที่ 1 อ่านได้ว่า เดือน 1 (正月) ภาษาจีนเดือน 1 จะใช้คำว่า (เจิ้ง)

ตำแหน่งที่ 4 คือวัน ตามจันทรคติจีน อ่านจากขวาไปซ้าย มีข้อสังเกตถ้าเป็นวันที่เป็นเลขตัวเดียวจะมีคำว่า ชิว ()อ่านแต้จิ่ว นำหน้า หลักสิบใช้คำว่า จับ()อ่านแต้จิ่ว นำหน้าแต่หลักยี่สิบ เขาจะใช้คำจีนว่า ยี่จับ(廿) อ่านแต้จิ่ว ซึ่งเป็นตัวเลขภาษาโบราณ นำหน้า ตามรูปที่ 1 อ่านได้ว่า วันที่ 1 (初一曰) ส่วนรูปที่ 2 อ่านว่า วันที่ 29 (廿九日)

ตำแหน่งที่ 5 คือวัน เวลา ของการเปลี่ยนสาร์ทของจีน อ่านจากขวาไปซ้าย ซึ่งใน 1 ปีจะประกอบด้วย 24สาร์ท และใน 1 เดือนก็จะแบ่งได้อีก 2 สาร์ทคือ สาร์ทใหญ่ กับสาร์ทเล็ก ซึ่งสาร์ทของจีนนี้เขาจะนำไปใช้เป็นกฎเกณฑ์ในการผูกดวงจีน เราจะมาดูว่าทั้ง 24 สาร์ทมีอะไรบ้าง ชื่อภาษาไทยเป็นคำอ่านแต้จิ่ว วันที่เป็นวันของสากล ดังนี้

สาร์ทที่ 1 ชื่อลิบชุน (立春) เริ่มประมาณวันที่ 4 หรือ 5 กุมภาพันธ์
สาร์ทที่ 2 ชื่ออู่จุ้ย (
雨水) เริ่มประมาณวันที่ 19 หรือ 20 กุมภาพันธ์
สาร์ทที่ 3 ชื่อเก๋งเต็ก (
驚墊) เริ่มประมาณวันที่ 5 หรือ 6 มีนาคม
สาร์ทที่ 4 ชื่อชุนฮุน (
春分) เริ่มประมาณวันที่ 20 หรือ 21 มีนาคม
สาร์ทที่ 5 ชื่อเช็งเม็ง (
清明) เริ่มประมาณวันที่ 5 หรือ 6 เมษายน
สาร์ทที่ 6 ชื่อก๊อกอู่ (
殼雨) เริ่มประมาณวันที่ 20 หรือ 21 เมษายน
สาร์ทที่ 7 ชื่อลิบแฮ่ (
立夏) เริ่มประมาณวันที่ 5 หรือ 6 พฤษภาคม
สาร์ทที่ 8 ชื่อเสียวมั๊ว (
小滿) เริ่มประมาณวันที่ 21 หรือ 22 พฤษภาคม
สาร์ทที่ 9 ชื่อมั่งเจ๊ง (
芒種) เริ่มประมาณวันที่ 5 หรือ 6 มิถุนายน
สาร์ทที่ 10 ชื่อแฮ่จี่ (
复至) เริ่มประมาณวันที่ 21 หรือ 22 มิถุนายน
สาร์ทที่ 11 ชื่อเสียวซู๊ (
小暑) เริ่มประมาณวันที่ 7 หรือ 8 กรกฎาคม
สาร์ทที่ 12 ชื่อไต้ซู๊ (
大暑) เริ่มประมาณวันที่ 23 หรือ 24 กรกฎาคม
สาร์ทที่ 13 ชื่อลิบซิว (
立秋) เริ่มประมาณวันที่ 7 หรือ 8 สิงหาคม
สาร์ทที่ 14 ชื่อชู๊ซู๊ (
處暑) เริ่มประมาณวันที่ 23 หรือ 24 สิงหาคม
สาร์ทที่ 15 ชื่อแป๊ะโล่ว (
白露) เริ่มประมาณวันที่ 7 หรือ 8 กันยายน
สาร์ทที่ 16 ชื่อซิวฮุน (
秋分) เริ่มประมาณวันที่ 23 หรือ 24 กันยายน
สาร์ทที่ 17 ชื่อฮั่งโล่ว (
寒露) เริ่มประมาณวันที่ 8 หรือ 9 ตุลาคม
สาร์ทที่ 18 ชื่อซึ่งกั่ง (
霜降) เริ่มประมาณวันที่ 23 หรือ 24 ตุลาคม
สาร์ทที่ 19 ชื่อลิบตัง (
立冬) เริ่มประมาณวันที่ 7 หรือ 8 พฤศจิกายน
สาร์ทที่ 20 ชื่อเสียวเซาะ (
小雪) เริ่มประมาณวันที่ 23 หรือ 24 พฤศจิกายน
สาร์ทที่ 21 ชื่อไต้เซาะ (
大雪) เริ่มประมาณวันที่ 7 หรือ 8 ธันวาคม
สาร์ทที่ 22 ชื่อตังจี่ (
冬至) เริ่มประมาณวันที่ 23 หรือ 24 ธันวาคม
สาร์ทที่ 23 ชื่อเสียวฮั่ง (
小寒) เริ่มประมาณวันที่ 5 หรือ 6 มกราคม
สาร์ทที่ 24 ชื่อไต้ฮั่ง (
大寒) เริ่มประมาณวันที่ 20 หรือ 21 มกราคม

สาร์ทเลขคี่ จะเป็นสาร์ทใหญ่ ส่วนสาร์ทเลขคู่ จะเป็นสาร์ทเล็ก

รูปที่ 2

ตามรูปที่ 2 อ่านว่าแถวบน 初五酉小滿 วันที่ 5 ของจีน(ตรงกับวันที่ 21 พ.ค. 2550 ของสากล) เวลา (อิ๊ว) อยู่ในช่วงเวลา 17.00-18.59 น. เป็นวันเริ่มของสาร์ทเสียวมั๊ว เป็นสาร์ทเล็ก แถวล่าง 廿一巳芒種 วันที่ 21 ของจีน(ตรงกับวันที่ 6 มิ.ย. 2550 ของสากล) เวลา (จื้อ) อยู่ในช่วงเวลา 09.00-10.59 น. เป็นวันเริ่มของสาร์ทมั่งเจ๊ง เป็นสาร์ทใหญ่

ตำแหน่งที่ 6 คือโป๊ยหยี่สี่เถียว (八字四柱) ของวันๆนั้นประกอบด้วย 4 หลัก ตามรูปที่ 1แถวบนอ่านจากขวาไปซ้ายดังนี้ หลักปี หลักเดือน หลักดิถี(วัน) และหลักยาม(เวลา) มีประโยชน์คือปัจจุบันนี้คนนิยมเมื่อมีเด็กเกิดใหม่ เขาจะฉีกใบปฎิทินนี้เก็บไว้ ซึ่งสามารถรู้ได้ว่าเด็กคนนี้มีโป้ยหยี่สี่เถียวอะไรบ้าง ซึ่งในปฎิทินเขาจะกำหนดราศีบนราศีล่างของทุกหลักให้แล้ว ยกเว้นหลักยาม เรามาเรียนรู้ทีละหลักโดยไม่พูดถึงรายละเอียดมากเกินไป ให้ภาพแบบกว้างๆพอเป็นแนวพื้นฐาน ในการที่จะศึกษาให้ลึกซึ้งต่อไป

ก่อนอื่นเรามารู้จักราศีบนและราศีล่างกันก่อน ซึ่งราศีบนจะประกอบด้วยตัวภาษาจีน 10 ตัว และราศีล่างก็ประกอบด้วยปีนักษัตริย์ทั้ง 12 ตัว ตามรูปที่ 3 ด้านล่างนี้

รูปที่ 3



หลักปี จะประกอบด้วยราศีบนและราศีล่างที่มาประกอบกันที่เราเรียกกันว่า หลักจับกะจื้อ ตามรูปที่ 4 ด้านล่างนี้ครับ
ในรูปแถวบนจะมีกำกับธาตุของราศีแต่ละตัวให้ด้วย แถวล่างคือธาตุนับอิม ต้องอ่านจากขวาไปซ้าย

ตามรูปที่ 1 หลักปีคือ
丁亥 ธาตุนับอิมคือ ธาตุดินบนบ้าน รายละเอียดถ้าสนใจธาตุนับอิมไปหาอ่านได้ที่ ทงซูน่ำเอี๊ยงหน้าประมาณกลางๆ หัวข้อเทียบตำราจีน วัน เดือน ปี และธาตุต่างๆ

รูปที่ 4

หลักเดือน จะประกอบด้วยราศีบนและราศีล่างเหมือนกัน แต่ราศีบนเราไม่ต้องสนใจ ถ้าเราอยากรู้ว่าราศีล่างคือเดือนอะไรก็นำมาเทียบกับตารางด้านล่างนี้
ทางเดือนจีนจะนับเดือนกุมภาพันธ์ เป็นเดือนแรก
ราศีล่าง เดือน
กุมภาพันธ์
มีนาคม
เมษายน
พฤษภาคม
มิถุนายน
กรกฎาคม
สิงหาคม
กันยายน
ตุลาคม
พฤศจิกายน
ธันวาคม
มกราคม
ตามรูปที่ 1 หลักเดือนคือ
壬寅 เดือนกุมภาพันธ์

หลักดิถี(วัน) จะประกอบด้วยราศีบนและราศีล่างเหมือนกัน จุดสนใจคือให้ดูราศีบนของหลักนี้ ถ้าเราอยากรู้ว่าเราคือธาตุอะไรในการทำนายพื้นฐานดวง ให้ดูที่ราศีบนหลักนี้
ตามรูปที่ 1 หลักดิถีคือ
癸未 ราศีบนคือธาตุน้ำ คนที่เกิดวันนี้จะเป็นคนธาตุน้ำ

หลักยาม(เวลา) จะประกอบด้วยราศีบนและราศีล่างเหมือนกัน จุดสนใจคือถ้าเราอยากรู้ว่าในวันนี้เวลาไหนเป็นเวลาที่ดีก็สามารถหาจากแถวล่างของรูปที่ 1 ได้


ความหมายของอักษรจีนในแถวล่างในการหาเวลาที่ดี ดังนี้
คำว่า
เวลาที่ดีที่สุด
คำว่า
เวลาที่ปานกลาง(เหมาะสม)
คำว่า
เวลาไม่ดี (ห้ามใช้)

ความหมายราศีล่างเทียบได้กับเวลา ดังต่อไปนี้
ราศีล่าง เวลา
23.00-24.59 น.
01.00-02.59 น.
03.00-04.59 น.
05.00-06.59 น.
07.00-08.59 น.
09.00-10.59 น.
11.00-12.59 น.
13.00-14.59 น.
15.00-16.59 น.
17.00-18.59 น.
19.00-20.59 น.
21.00-22.59 น.

ตำแหน่งที่ 7 และ 8 คือราศีบนกับราศีล่างของหลักวัน (ตัวที่ 1และ2) ส่วนตัวที่ 3 ที่ถัดลงมาคือธาตุนับอิม ซึ่งทั้ง 2 ตำแหน่งนี้ได้กล่าวไว้ข้างต้นแล้ว

ตำแหน่งที่ 9 ตัวบนคือหมวดฤกษ์ 28 ฤกษ์ ตัวล่างคือหมวดฤกษ์เดือน ซึ่งการหาฤกษ์ยามทางโหราศาสตร์ของจีนมีหลายวิธีการ การดูฤกษ์ 28 ฤกษ์ กับฤกษ์เดือน เป็นวิธีหนึ่งซึ่งสามารถดูฤกษ์ยามได้ด้วย

หมวดฤกษ์ 28 ฤกษ์ จะไม่กล่าวถึงที่มาที่ไป แต่จะพูดถึงดาวฤกษ์ที่นำไปใช้งานได้ประเภทไหนบ้าง คำอ่านไทยเป็นภาษาแต้จิ๋ว ดังนี้

ฤกษ์ที่ 1 กัก (
) เป็นฤกษ์มงคล เหมาะสำหรับเดินทางไกล แต่งงาน ซื้อเสื้อผ้าใหม่ ขุดดิน ย้ายบ้าน แต่ห้ามไปงานศพ
ฤกษ์ที่ 2 ขั่ง (
) เป็นฤกษ์อัปมงคล ห้ามประกอบพิธีต่างๆ
ฤกษ์ที่ 3 สี่ (
) เป็นฤกษ์อัปมงคล ห้ามประกอบพิธีต่างๆ
ฤกษ์ที่ 4 ปั๊ง (
) เป็นฤกษ์มงคล เหมาะสำหรับเซ่นไหว้ แต่งงาน ซ่อมบ้าน ขุดดิน ย้ายบ้าน
ฤกษ์ที่ 5 ซิม (
) เป็นฤกษ์อัปมงคลมากที่สุด ห้ามประกอบพิธีทุกอย่าง
ฤกษ์ที่ 6 บ้วย (
) เป็นฤกษ์มงคล เหมาะสำหรับทำการก่อสร้าง แต่งงาน ซื้อเสื้อผ้าใหม่
ฤกษ์ที่ 7 กี (
) เป็นฤกษ์มงคล เหมาะสำหรับทำการก่อสร้าง เก็บบัญชี ห้ามไปงานศพและแต่งงาน
ฤกษ์ที่ 8 เต้า (
) เป็นฤกษ์มงคล เหมาะสำหรับทำการก่อสร้าง ซื้อเสื้อผ้าใหม่
ฤกษ์ที่ 9 งู้ (
) เป็นฤกษ์อัปมงคล ห้ามประกอบพิธีต่างๆ
ฤกษ์ที่ 10 นึ่ง (
) เป็นฤกษ์อัปมงคล ห้ามประกอบพิธีต่างๆ
ฤกษ์ที่ 11 ฮือ (
) เป็นฤกษ์อัปมงคล ห้ามประกอบพิธีต่างๆ
ฤกษ์ที่ 12 งุ้ย (
) เป็นฤกษ์อัปมงคล ห้ามประกอบพิธีต่างๆ
ฤกษ์ที่ 13 สิก (
) เป็นฤกษ์มงคล เหมาะสำหรับทำการก่อสร้าง ย้ายบ้าน แต่งงาน แต่ห้ามไปงานศพ
ฤกษ์ที่ 14 เปียะ (
) เป็นฤกษ์มงคล เหมาะสำหรับทำการก่อสร้าง แต่งงาน
ฤกษ์ที่ 15 กุย (
) เป็นฤกษ์อัปมงคล ห้ามประกอบพิธีต่างๆ
ฤกษ์ที่ 16 ลู้ (
) เป็นฤกษ์มงคล เหมาะสำหรับแต่งงาน ซ่อมบ้าน
ฤกษ์ที่ 17 อุ่ย (
) เป็นฤกษ์มงคล เหมาะสำหรับทำการก่อสร้าง
ฤกษ์ที่ 18 งัง (
) เป็นฤกษ์อัปมงคล ห้ามประกอบพิธีต่างๆ
ฤกษ์ที่ 19 ปิ๊ก (
) เป็นฤกษ์มงคล เหมาะสำหรับทำการก่อสร้าง และไปงานศพ
ฤกษ์ที่ 20 ฉุ่ย (
) เป็นฤกษ์อัปมงคล ห้ามประกอบพิธีต่างๆ
ฤกษ์ที่ 21 ซำ (
) เป็นฤกษ์มงคล เหมาะสำหรับแต่งงาน เดินทางไกล ขอพร ขอบุตร แต่ห้ามไปงานศพ
ฤกษ์ที่ 22 แจ้ (
) เป็นฤกษ์มงคล เหมาะสำหรับทำการก่อสร้าง แต่ห้ามทำพิธีฝังศพ
ฤกษ์ที่ 23 กุ้ย (
) เป็นฤกษ์อัปมงคล ห้ามประกอบพิธีต่างๆ
ฤกษ์ที่ 24 หลิว (
) เป็นฤกษ์อัปมงคล ห้ามประกอบพิธีต่างๆ
ฤกษ์ที่ 25 แซ (
) เป็นฤกษ์มงคลเฉพาะพิธีสร้างบ้านเท่านั้น พิธีอื่นๆห้ามทำ
ฤกษ์ที่ 26 เตีย (
) เป็นฤกษ์มงคล เหมาะสำหรับทำการก่อสร้าง แต่งงาน เซ่นไหว้
ฤกษ์ที่ 27 เอ็ก (
) เป็นฤกษ์อัปมงคล ห้ามประกอบพิธีต่างๆ
ฤกษ์ที่ 28 เจี้ยง (
) เป็นฤกษ์มงคล เหมาะสำหรับก่อสร้าง แต่งงาน ซื้อเสื้อผ้าใหม่ งานฝังศพ

หมวดฤกษ์เดือน จะประกอบไปด้วยฤกษ์ คำอ่านเป็นภาษาแต่จิ๋ว ดังต่อไปนี้

ฤกษ์ที่ 1 เกี๋ยง (
) เริ่มต้น เหมาะสำหรับทำการก่อสร้าง แต่งงาน เดินทางไกล แต่ห้ามนั่งเรือและใกล้กับน้ำ
ฤกษ์ที่ 2 ตื๊อ (
) การขจัดทิ้ง ชำระสะสาง ห้ามเดินทางไกล ห้ามแต่งงาน และก่อสร้าง
ฤกษ์ที่ 3 มั้ว (
滿) ล้นหรือพูน ทำเป็นฤกษ์มงคลได้ทุกอย่าง แต่ห้ามไปงานศพ
ฤกษ์ที่ 4 เพ่ง (
) เรียบๆธรรมดา เป็นวันไม่ดี ไม่ร้าย เหมาะกับการตกแต่งบ้าน ขอพร ขอโชค
ฤกษ์ที่ 5 เตี่ย (
) มัดจำ เหมาะสำหรับการวางแผน แต่ห้ามเป็นคดีความ และเดินทางไกล
ฤกษ์ที่ 6 จิบ (
) รวบรวม ขมวด เหมาะกับการขอพร ไหว้พระ แต่งงาน แต่ห้ามเดินทางไกล
ฤกษ์ที่ 7 พั่ว (
) แตกหัก ทำการใดๆไม่ได้ทั้งสิ้น
ฤกษ์ที่ 8 งุ้ย (
) อันตราย ทำการใดๆไม่ได้ทั้งสิ้น
ฤกษ์ที่ 9 เซ้ง (
) สำเร็จ ทำเป็นฤกษ์มงคลได้ทุกอย่าง ราบรื่น
ฤกษ์ที่ 10 ซิว (
) เหมาะสำหรับเก็บ เหมาะกับการแต่งงาน ย้ายบ้าน แต่ห้ามเดินทางไกล
ฤกษ์ที่ 11 ไค (
) เปิด เหมาะสำหรับแต่งงาน ก่อสร้าง เปิดกิจการ แต่ห้ามเดินทางไกล
ฤกษ์ที่ 12 ปี่ (
) ปิด เหมาะกับการฝังศพ แต่การกระทำอย่างอื่นไม่ได้ทั้งสิ้น

มีข้อสังเกตุ ปรกติในปฎิทินถ้าเป็นฤกษ์ที่ดีเขาจะเขียนเป็นตัวสีแดง ถ้าไม่ดีจะเขียนตัวสีดำ

ขอย้ำอีกครั้งที่เขียนเป็นเพียงแนวทางพื้นฐานไม่สามารถนำไปใช้ได้ เพราะการดูฤกษ์ยามต้องมีส่วนประกอบในการวางฤกษ์อีกหลายอย่างครับ
ถ้าสนใจสามารถหาอ่านเพิ่มเติมดังนี้ หนังสือปริศนาดวงจีน ของ อาจารย์ชัยเมษฐ์ เชี่ยวเวช

ตำแหน่งที่ 10 แสดงรูปปีนักษัติย์ของวันนั้นๆ ซึ่งจะมีความสัมพันธ์กับตำแหน่งที่ 7 คืออันเดียวกัน การประกอบพิธีกรรมต่างๆผู้ที่นำพิธีเขาจะดูตำแหน่งนี้ด้วยประกอบว่า ผู้นำพิธีชง(ปะทะ) กับวันที่ทำพิธีหรือไม่ ปรกติเขาจะเลี่ยงถ้าเกิดเจ้าพิธีถูกชงวันนั้น แต่ก็ต้องคำนึงถึงหลักปี ซึ่งต้องนำมาพิจารณาประกอบด้วย ตามรูปที่ 1 ราศีล่างของตำแหน่งที่ 7คือ
จะเป็นปีนักษัติย์ แพะ ดังนี้
ี้
ราศีล่าง ปีนักษัติย์
หนู ชง
วัว ชง
เสือ ชง
กระต่าย ชง
มังกร ชง
งู ชง
ม้า
แพะ
ลิง
ไก่
สุนัข
หมู

ตำแหน่งที่ 11 คือดาวมงคลของวันนั้นๆ ซินแสบางท่านจะมีการนำดาวมงคลมาพิจารณาเป็นส่วนประกอบร่วมในการออกฤกษ์ด้วย ถ้าเราดูในทงซูน่ำเอี๊ยงดาวมงคลจะมีอยู่เป็นจำนวนมาก แต่จะยกดาวมงคลส่วนหนึ่งที่ซินแสนิยมนำมาใช้ คำอ่านไทยเป็นภาษาแต้จิ๋ว ดังนี้
天德 (เทียงเต็ก) เหมาะสำหรับงานทุกประเภท
月德 (ง่วยเต็ก) เหมาะสำหรับเริ่มงานทุกอย่าง ห้ามล่าสัตว์ จับปลา
六合 หรือ 三合 (ลักฮะ หรือ ซาฮะ) เหมาะสำหรับเริ่มงานทุกประเภท
天馬 หรือ (เทียงแบ้ หรือ เอี๊ยะแบ้) เหมาะสำหรับเดินทางไกล และเคลื่อนย้าย
進神 (จิ้งซิ้ง) วันก้าวหน้า เหมาะสำหรับเริ่มงานทุกอย่าง
天赦 (เทียงเสี่ย) วันฟ้าอภัย เหมาะสำหรับอภัยโทษ เซ่นไหว้ แก้บน

ตำแหน่งที่ 12 สังเกตุอักษรตัวบนสุดคือ
(งี๋) เรื่องทำการมงคล ตำแหน่งนี้เขาจะแนะนำให้ว่าวันนี้จะสามารถทำการมงคลอะไรได้บ้าง
ตามรูปที่ 1 วันที่ที่เป็นตัวอย่างนี้เป็นวันตรุษจีนพอดี ตำแหน่งนี้จึงมีการกล่าวถึง เทพโชคลาภ เทพยินดี เทพอุปถัมภ์ จะมาในทางทิศใด ตลอดจนจะบอกถึงเวลาที่ดีในการรับเทพทั้งหลายด้วย
ส่วนรูปที่ 2 เป็นวันธรรมดาจะมี เรื่องทำการมงคล(งี๋) กำกับอยู่ ซึ่งงานมงคลที่ทำได้วันนี้คือ ควรเซ่นไหว้ (
祭祀) อาบน้ำ (沐浴)

ตำแหน่งที่ 14 สังเกตุอักษรตัวบนสุดคืออักษร
(กี๋) เรื่องไม่ควรทำ กิจนั้นๆ ตำแหน่งนี้เขาจะแนะนำให้ว่าวันนี้ไม่สามารถทำกิจอันใดบ้าง
ตามรูปที่ 2 สิ่งที่ไม่ควรทำของวันนี้คือ
穿井(ขุดบ่อน้ำ) 除服(ปลดเสื้อผ้าไว้ทุกข์) ส่วนข้อความด้านล่างสมัยโบราณมีความเชื่อว่าแต่ละวันองศ์พระจะสถิตอยู่ณ ตำแหน่งของแต่ละวันไม่เหมือนกัน ซึ่งของวันนี้จะอยู่ที่ ประตูใหญ่(大門) ความหมาย วันนี้ที่ประตูใหญ่ ห้ามกระทบ ขุด เจาะ ทุบ

ตำแหน่งที่ 11 12 14 สามารถหาหนังสืออ่านเพิ่มเติมดังนี้
ปริศนาดวงจีน ของอาจารย์ชัยเมษฐ์ เชี่ยวเวช

ตำแหน่งที่ 13 คือทิศทางที่เทพเจ้าโชคลาภ (財神) กับเทพเจ้ายินดี (喜神) จะมาสถิตณ ทิศนั้นของแต่ละวันนั้นๆ เทพเจ้าโชคลาภ ปรกติแล้วสามารถไหว้ได้ทุกวัน เพียงแต่ว่าให้ตั้งโต๊ะหันไปทางทิศที่ท่านมาให้ถูกทิศทาง ส่วนเทพเจ้ายินดี ซินแสบางท่านนำไปใช้ในพิธีแต่งงาน ช่วงที่ออกรถไปรับตัวเจ้าสาวเข้ามาที่บ้านเจ้าบ่าว โดยให้หันหัวรถออกจากทิศที่เทพเจ้ายินดีสถิตอยู่ ซึ่งเป็นทิศที่เป็นมงคล
ตามรูปที่ 2 เทพเจ้าโชคลาภ จะมาทางทิศเหนือ เทพเจ้ายินดี จะมาทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ

ตำแหน่งที่ 15 ทั้งรูปที่ 1และ2 จะกล่าวถึง ปีจรปีนี้คือ เต็ง ไฮ้ (
丁亥) หมูไฟ เหมาะสำหรับ(ทิศที่มีกำลัง) ทิศใต้และทิศเหนือ ไม่เหมาะกับทิศ(ทิศที่ไม่มีกำลัง) ทิศตะวันตก