วันอาทิตย์, มีนาคม 04, 2555

โรงเรียนเต้าหมิง 導明學校

Tao Ming School Building

Tao Ming School Building was originally built in 1922 group of mine owners and rich Chinese merchants from Takuapa, Ranong and Phuket donated 20,000 bath, so the children of Chinese people living in Takuapa would have a place to get an education.



โรงเรียนเต้าหมิง導明學校


พ.ศ.2465 (ค.ศ.1922) พ่อค้า คหบดีในท้องที่ตะกั่วป่า และจากระนอง ภูเก็ต ได้ร่วมกันสมทบทุนจ้างครูสอนหนังสือ และเปิดโรงเรียนจีนชื่อ “โรงเรียนเต้าหมิง導明學校” ขึ้น เพื่อให้บุตรธิดาได้เล่าเรียนหนังสือ โดยเปิดสอนในระดับประถมศึกษา และสอนวิชาภาษาจีนด้วย
เริ่มแรกเหล่าพ่อค้า คหบดีได้ร่วมลงขันเป็นเงินประมาณ
 20,000 บาท เพื่อดำเนินการก่อสร้างอาคารเรียน โดยก่อสร้างเป็นอาคารทรงชิโนโปรตุกีสประยุกต์(Chino-Portuguese style) ตัวอาคารเป็นคอนกรีต เครื่องบนเป็นไม้ หลังคามุงสังกะสี และที่น่าสนใจ คือ บริเวณหน้าจั่วด้านหน้ามีลายปูนปั้นเป็นภาพ “ตะวันฉาย


ตะวันฉาย” เปล่งรัศมีเป็น 12 แฉก เป็นแบบเดียวกันกับที่ปรากฏบนผืนธงชาติสาธารณรัฐจีน (中華民國國旗หรือที่เรียกว่า “青天,白日,滿地,紅旗” หมายถึง
青天 ฟ้าใส
白日ตะวันฉาย
滿地 ,  แผ่นดินอุดม
紅旗 , ธงแดง 
 (Blue Sky, White Sun, and a Wholly Red Earth)


ตะวันฉาย” เปล่งรัศมีเป็น 12 แฉก หมายถึงเดือนทั้ง 12 เดือนและระบบการแบ่งเวลาเป็น 12 ชั่วโมงแบบจีน (時辰, shíchén) ซึ่ง 1 ชั่วโมงจีนเท่ากับ 2 ชั่วโมงสากล ดังนั้น 12 ชั่วโมงจีนจึงเท่ากับ 24 ชั่วโมงสากล หรือเวลาใน 1 วัน


ตะวันฉาย” เปล่งรัศมีเป็น 12 แฉก ปรากฏในผืนธงเป็นภาพดวงอาทิตย์สีขาวอยู่บนพื้นสีน้ำเงิน เรียกว่า “ตะวันฉาย ฟ้าใส (
青天白日旗: the Blue Sky with a White Sun flag)” ออกแบบโดย 陸皓東 โดยเขาได้เสนอแบบธงนี้แก่กองทัพปฏิวัติในพิธีเปิดสมาคมเพื่อการฟื้นฟูจีน (興中會แบบธงดังกล่าวนี้ได้รับการยอมรับให้ใช้เป็นธงประจำพรรคก๊กมินตั๋งและตราแผ่นดินของสาธารณรัฐจีน ในเวลาต่อมา 

ส่วนพื้นสีแดง “แผ่นดินอุดมสีแดง” เพื่อ หมายถึงเลือดของนักปฏิวัติผู้เสียสละตนเองเพื่อโค่นล้มรัฐบาลของราชวงศ์ชิง และสถาปนาสาธารณรัฐจีน นอกจากนั้นธงนี้ยังได้สื่อความหมายของหลักลิทธิไตรราษฎร์ ของ ดร. ซุนยัตเซ็นไว้ ในปี ค.ศ.1906(พ.ศ.2449) ทำให้ธงนี้มีลักษณะดังที่ปรากฏในปัจจุบัน

จากภาพ "ตะวันฉาย" ที่
ปรากฎบนหน้าจั่วอาคารโรงเรียนเต้าหมิง สามารถสะท้อนให้เห็นถึงบริบททางด้านการเมืองที่เข้ามามีบทบาทในตะกั่วป่าได้เป็นอย่างดี  

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น