วันอาทิตย์, กันยายน 18, 2559

ตั่วห่า กับ เจี๊ยฉ่าย สองเรื่องในบริบทเดียวกัน

ตั่วห่า กับ เจี๊ยะฉ่าย

สำหรับบทความนี้ ต้องขอออกตัวไว้ก่อนว่า ทั้งหมดเป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียน ไม่ได้หวังว่าจะให้เป็นบรรทัดฐานแต่อย่างใด แค่..เล่า..สู่..กัน..ฟัง

ทั้ง "ตั่วห่า(ประเพณีการไว้ทุกช์)" และ "เจี๊ยะฉ่าย(ประเพณีกินผัก)"
ล้วนเป็นประเพณีที่ลูกหลานจีน(ในที่นี้กล่าวถึงลูกหลานจีนโพ้นทะเลที่อาศัยอยู่ในแถบจังหวัดชายฝั่งทะเลอันดามัน)ประพฤติปฏิบัติสืบทอดกันมาจากรุ่นสู่รุ่นอย่างยาวนาน

สำหรับผมที่อยู่ในช่วงการไว้ทุกข์(ตั่วห่า)ให้แก่บิดาผู้ล่วงลับ กลับมีหลายๆท่าน ตั้งหลายๆคำถามที่เกี่ยวข้องกับประเพณีกินผัก(เจี๊ยะฉ่าย) ที่กำลังจะมีขึ้นในช่วงวันที่ 1-9 เดือน 9 (ตามจันทรคติแบบจีน) ว่า...

คนไว้ทุกข์ห้ามเข้าร่วมเจี้ยะฉ่ายใช่มั้ย
ไว้ทุกข์จะเข้าร่วมเจี้ยะฉ่ายได้มั้ย
จะต้องปลดทุกข์เพื่อเข้าร่วมประเพณีเจี้ยะฉ้ายหรือไม่
ฯลฯ

จึงขอใช้พื้นที่ส่วนตัวนี้ ตอบคำถามเหล่านี้ โดยเน้นว่าเป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผมเองอีกครั้ง

สำหรับผม ขอตอบว่า...
"คนไว้ทุกข์ สามารถเจี้ยะฉ่ายได้ แต่..ไม่เข้าร่วมในพิธีกรรมต่างๆหรือไม่เข้าไปในปริมณฑลพิธีที่จัดงาน ก็แค่นั้น"

ถ้าเน้นเรื่องของจิตใจ ท่านสามารถทำทั้งสองอย่างได้ไปพร้อมๆกัน ด้วยเหตุที่ผมจะบอกไว้ว่า
"ถ้าไม่มีบรรพชน เราคงไม่ได้เกิดมาเจี้ยะฉ่าย"

จอ บอ จบ



วันอังคาร, กันยายน 13, 2559

"ฮกเกี้ยนตงชิ้ว หรือ เอี๊ยวเปี้ย" ขนมไหว้พระจันทร์สไตล์ฮกเกี้ยน

ในแต่ละรอบปี ชาวจีนมีสารทมากมาย และในเดือนแปดนับตามจันทรคติแบบจีน คนไทยเชื้อสายจีนนิยมเรียกว่า "เทศกาลไหว้พระจันทร์" สำหรับปี พ.ศ.2559 ตรงกับวันที่ 15 กันยายน (15ค่ำ เดือน8 จีน) เป็นวันไหว้พระจันทร์
ตัวเอกของงานนี้ คงหนีไม่พ้น "ขนมไหว้พระจันทร์" ซึ่งมีหลากหลายสูตรหลากหลายแบบ แต่ที่โดดเด่นที่สุดคงเป็น "ขนมไหว้พระจันทร์แบบกวางตุ้ง" อย่างที่เห็นกันทั่วไป

ขนมไหว้พระจันทร์ แบบกวางตุ้ง (หรือ มาเก๊าเปี้ย)
ขนมไหว้พระจันทร์แบบแต้จิ๋ว(หรือ ตั่วหล่าเปี้ย) 

ขนมไหว้พระจันทร์แบบแต้จิ๋ว(หรือ ตั่วหล่าเปี้ย) 

สำหรับคนไทยเชื้อสายจีนฮกเกี้ยนที่อาศัยอยู่ในจังหวัดฝั่งอันดามันของไทยนั้น เรียกเทศกาลนี้ว่า "ตงชิ้วโจ้ย" และเรียกขนมไหว้พระจันทร์ว่า "ตงชิ้วเปี้ย" หรือ "เอี๊ยวเปี้ย" ขนมไหว้พระจันทร์แบบฮกเกี้ยน(ฮกเกี้ยนตงชิ้ว) ที่แตกต่างกันไปจากแบบกวางตุ้ง ซึ่งในปัจจุบันหายากเต็มที


ขนมไหว้พระจันทร์แบบฮกเกี้ยน(ฮกเกี้ยนตงชิ้ว หรือ เอี๊ยวเปี้ย) 

ขนมไหว้พระจันทร์แบบฮกเกี้ยน(ฮกเกี้ยนตงชิ้ว หรือ เอี๊ยวเปี้ย)  ด้านล่างจะมีงาขาว

ขนมไหว้พระจันทร์แบบฮกเกี้ยน(ฮกเกี้ยนตงชิ้ว หรือ เอี๊ยวเปี้ย) ด้านบนและด้านล่างของขนม

ขนมไหว้พระจันทร์แบบฮกเกี้ยน(ฮกเกี้ยนตงชิ้ว หรือ เอี๊ยวเปี้ย)  ไส้จันอับ(ฟักเชื่อม)

ขนมไหว้พระจันทร์ สารพัดไส้

และนี้คือส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมด้านอาหารที่บ่งบอกถึงที่มาของแต่กลุ่มชน ที่บรรพชนได้สร้างสรรค์ขึ้นมาตั้งแต่ครั้งก่อน...

ศึกษาเพิ่มเติมได้ที่
http://ahkew.blogkaki.net/viewblog-102566/
http://www.guangming.com.my/node/112770

วันเสาร์, กันยายน 03, 2559

"บาบ๋าผ้อ ตะกั่วป่า 2559"

"บาบ๋าผ้อ ตะกั่วป่า 2559"

ผ่านพ้นไปอีกหนึ่งปีสำหรับประเพณีประจำเดือนเจ็ด (จันทรคติแบบจีน) นั่นคือ "ผ้อต่อ"
กิจกรรมที่มุ่งเน้นถึงการทำบุญทำทานโปรดดวงวิญญาณที่ล่วงลับ ตามแบบคติความเชื่อของชาวจีน(ที่คลลุกเคล้าที่พุทธ เต๋า ฯ เข้าด้วยกัน) ที่สืบทอดกันมาหลายชั่วคน

สำหรับที่ "ตะกั่วป่า"
มีการจัดงานผ้อต่อขึ้นที่ "ศาลเจ้าฮกเกี้ยนโฮ้ยก้วน" ซึงจากคำบอกเล่าจากผู้เฒ่าผู้แก่ ท่านว่า ณ ที่นี้ ได้มีการงานผ้อต่อ ในวันสุดท้ายของเดือนเจ็ด เป็นงานเล็กๆของกลุ่มคนที่สืบทอดกันมาหลายช่วงอายุคน
เป็นการจัดที่เรียกว่า "บาบ๋าผ้อ"

โดยจะมีการนำเครื่องไหว้ อาหารคาวหวาน ผลไม้ต่างๆมาไหว้องค์ผ้อต่อก้ง ซึ่งที่นี้มีเพียงกระถางธูปติดนามองค์ผ้อต่อก้งไว้เสมือนหนึ่งเป็นตัวแทนของเทพเจ้าไว้เท่านั้น

และในช่วงหัวค่ำบรรดาสมาชิกของโฮ้ยก้วยจะมาร่วมพิธีไหว้องค์ผ้อต่อก้งและร่วมรับประทานอาหารด้วยกันเป็นอันจบพิธีสำหรับประเพณี "ผ้อต่อ ตะกั่วป่า"

สำหรับเครื่องเซ่นไหว้ที่พิเศษของงานนี้จะเป็น "เต่า" ที่สือถึงความมีอายุยืนยาว บวกกับเรื่องราวที่กล่าวอ้างจากเรื่องของพระถึงซำจั่งข้ามทะเลจึงมีการนำเต่ามาเป็นสัญลักษณ์ในงานนี้

เต่าแป้งขนมโก๋ ขนาดใหญ่ เขียนลวดลายมงคล

เต่าแป้งขนมโก๋

เต่าแป้งขนมโก๋ ลายอักษรซิ่ว อายุยืน



เต่าชุดนี ให้ชื่อ "ซิ่วกู้" มาจากเส้นหมี่ที่ยืดยาว หมายถึงการมีอายุยืนตรงกับภาษาจีนที่ว่า "壽/寿ซิ่ว" และกู้ ""ที่หมายถึงเต่าในสำเนียงหมิ่นหนาน(ฮกเกี้ยน)




เต่าแป้งขนมไส้ไก้หรือแป้งเจี๊ยะโก้ย "ปาท่องโก๋"

เต่าจากส้มโอ

วุ้นลายอักษร "寿ซิ่ว" อายุยืน


รูปแบบของการจัดทำอาจมีการปรับเปลี่ยน มีทั้งแบบเก่าบ้าง ใหม่บ้าง
แต่ขอให้ไม่หลุดออกจาก "กรอบของงาน"
ผมก็ว่าเป็นการสืบสานการอนุรักษ์ขนบธรรมเนียมประเพณีคงให้คงอยู่สืบไปได้
"""ผมว่าไว้..เอง""


วันอาทิตย์, พฤษภาคม 01, 2559

เต่เหลี่ยว ‪#‎茶料

เต่เหลี่ยว ‪#‎茶料‬ 

เป็นขนมนานาชนิดที่กินกับน้ำชา และมักทำมาจากธัญพืช เป็นขนมที่มีนัยยะที่แสดงถึงการต้อนรับนั่นเอง และความอุดมสมบูรณ์ 
เต่เหลี่ยว สำหรับใช้ในการไหว้ถี่ก๊อง จะจัดเพิ่มขึ้นมารวมทั้งหมดเป็นสิบสองชนิด ถือเป็นอามิสบูชาที่นำถวายต่อถี่ก๊อง ซึ่งจะเรียกว่า "จับหยี่อั๊ว" ได้อีกด้วย

[หลักฉ่าย六菜] เครื่องบวงสรวงเจ ตามธรรมเนียมนิยมของคนฮกเกี้ยน

[หลักฉ่าย六菜] หรือ [หลักเจ六齋]

麵線 หมี่สั่ว
吃麵線,闔家添歲壽
香菇 เฮียงก้อ (เห็ดหอม)
食香菇,頭胎生查埔
ตังหู้น (วุ้นเส้น)
กิมเจี้ยม (ดอกไม้จีน)
บกหนี (เห็ดหูหนู)
เตกกากี่ (ฟองเต้าหู้)

ไซเหอ(西河) ยี่ห้อของคนแซ่ หลิม (林)


แซ่หลิม(林) ใช้ ไซเหอ(西河) เพื่อบ่งบอกถึงที่มาของบรรพชนที่สืบเนื่องกันมากว่าสามพันหกร้อยปี 
หลิม(林หมายถึงป่า) จึงใช้ลวดลายมงคลพฤกษาสามชนิดเป็นองค์ประกอบ คือ松 สน อันเป็นสัญลักษณ์ของความยั่งยืน竹 ไผ่ อันเป็นพญาแห่งมวลพฤกษา บ้างว่าเปรียบเสมือนชายชาตรี梅 ดอกเหมย อันมีความหอมเป็นเลิศ บ้างว่าเปรียบเสมือนอิสตรีพืชพรรณทั้งสามล้วนสามารถเจริญเติบโตและยืนหยัดได้เป็นอย่างดีแม้ในช่วงฤดุหนาว เมื่อนำทั้งสามมาอยู่ในภาพเดียวกัน เรียกว่า "歲寒三友-岁寒三友(สามสหายแห่งฤดูหนาว)" โดยมีนัยยะที่ว่า 
"จิตใจอันเข้มแข็งทะนงและองอาจ กล้าที่จะต่อสู้ฟันฝ่าอุปสรรคโดยไม่ย่อท้อ แม้ในช่วงเวลาอันแปรปรวน" 
หรือนัยยะที่ว่า "ความรักความสามัคคีและน้ำมิตรไมตรี มิตรภาพที่ไม่เคยทอดทิ้งกันและกัน" โดยเปรียบเทียบเอกลักษณ์ของไผ่ สน เหมย ที่ยืนหยัดเคียงข้างกันต่อสู้กับลมหนาวจวบจนถึงวันแรกแห่งฤดูใบไม้ผลิ 
ประหนึ่งว่า แซ่หลิมที่ยังคงสืบสานกันต่อไป

วันอังคาร, เมษายน 05, 2559

รากเหง้าบนป้ายหิน

ถึงกาลเวลาจะลบเลือน แต่ยังเตือนให้รู้ถึงที่มาอักษรจีนที่สลักอยู่บนแผ่นป้ายหินหน้าหลุมฝังศพ หรือที่เรียกว่า "บ่องป๋าย" หรือ "เจี่ยะปี” เมื่อกาลเวลาล่วงเลยมักสึกกร่อนไป แต่สิ่งหนึ่งที่ยังหลงเหลือไว้คือเรื่องราวของบรรพชนที่สืบสายกันมาจากรุ่นสู่รุ่นถึงปัจจุบัน

แผ่นป้ายนี้ สลักอะไร???
แผ่นป้ายนี้ สาระสำคัญจะอยู่ที่การระบุชื่อแซ่ของเจ้าของร่างอันไร้วิญญาณที่อยู่ในสุสานหรือบ่อง() โดยในแต่ละป้ายจะแบ่งออกเป็นสามแถว เรียงกันอยู่

1-แถวซ้าย  เป็นการระบุถึงวันเดือนปีที่สร้างสุสานนี้ ตลอดจนระบุถึงภูมิลำเนาเดิมในแผ่นดินจีน

2-แถวกลาง เป็นการระบุถึงชื่อแซ่ของผู้วายชนม์

3-แถวขวา เป็นการระบุถึงชื่อของผู้สร้างสุสานนี้ ซึ่งมักเป็นชื่อของบุตรหลานของผู้วายชนม์


สำหรับส่วนบนสุดของแผ่นป้ายจะสลักคำว่า “” ในที่นี้จะหมายถึงบรรพชน (อีกความหมายหนึ่งจะหมายถึง ทวด)

หรือจะสลักคำว่า “” เป็นคำยกย่องเทิดทูนผู้วายชนม์

ในกรณีที่วายชนม์เป็นชายหรือเป็นบิดาจะสลักคำว่า “顯考” ตามด้วยชื่อของผู้วายชนม์และนามสกุลหรือแซ่

และในกรณีที่วายชนม์เป็นหญิงหรือเป็นมารดาจะสลักคำว่า “顯妣 ตามด้วยชื่อของผู้วายชนม์และนามสกุลหรือแซ่เดิมก่อนการสมรส

และมีการสลักถึงภูมิลำเนาเดิมที่เมืองจีนไว้ในส่วนบนของแผ่นป้าย (ตามภาพประกอบ 平和 คือชื่อเมืองในมณฑลฮกเกีี้ยน) 
ทั้งนี้ รูปแบบในการสลักอักษรลงบนแผ่นป้ายหน้าสุสานยังมีหลากหลายแตกต่างกันไป ตามธรรมเนียมปฏิบัติของกลุ่มคนนั้นๆ ในที่นี้จะกล่าวถึงรูปแบบที่มีมากในท้องที่อำเภอตะกั่วป่า จังหวัดพังงา ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นกลุ่มลูกหลานชาวจีนฮกเกี้ยน(福建)พอสังเขปเท่านั้น 

อนึ่งผู้เขียนบันทึกนี้เป็นเพียงผู้สนใจใฝ่รู้ บันทึกขึ้นมาเพื่อเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาเรื่องราวของคนในท้องถิ่น จึงใคร่เชิญชวนให้ผู้สนใจร่วมศึกษากันต่อไปในภายภาคหน้าเพื่อประโยชน์ของสาธารณะชนรุ่นต่อๆไป 
LimFuGui 05/04/2016